ศัตรูปาล์มน้ำมันมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลเสียต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะสามารถป้องกัน หรือกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง อาร์ดี เกษตรพัฒนา จึงนำข้อมูลควรรู้เรื่องนี้มาให้ศึกษากันครับ
ด้วงกุหลาบ
cr.photo: invasive.org
เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก สีน้ำตาล ตัวเต็มวัยจะเข้ากัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมันในอายุแรกปลูก-1ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกใหม่ ถ้ารุนแรงทางใบจะถูกทำลายจนหมดเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ระบาดในช่วงแล้งก.พ.-เม.ย.)
ลักษณะการทำลาย : กัดเจาะใบ
วิธีป้องกัน : เซฟวิน 85% (Sevin85) 10 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร (ฉีดช่วงเย็น) หรือพอสซ์20%(Posse 20%)
-ฉีดช่วงเย็น ทุก7-10วัน ทั้งใบและโคน
หรือ มาแชล5G (Marshal5G) หยอดกาบใบล่าง1 ช้อนโต๊ะ
ด้วงแรด
มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ
ลักษณะการทำลาย : เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด
วิธีป้องกัน : คาร์โบซัลแฟน หรือคลอไพริฟอส ปริมาณการผสมตามที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ ราดบริเวณรอบยอดอ่อน
cr.wikipedia
ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง
จัดว่าเป็นด้วงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลออกดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มม. ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร
ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 ม. และอาจซ้ำกินบริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวทำลาย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง
หนอนหัวดำมะพร้าว
หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1-1.2 เซนติเมตร ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบ ตัวหนอนที่ฟักใหม่ๆ จะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น
ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายสีน้ำตาลเข้มพาดยาวตามลำตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 ซม. การเจริญเติบโตของหนอนหัวดำมะพร้าวพบว่าลอกคราบ 6-10 ครั้ง ระยะหนอน 32-48 วัน ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง
หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น ตัวหนอนจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่
ผีเสื้อที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบปาล์ม จึงมักจะพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบปาล์มใบเดียวกัน
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบแก่ ทำให้ใบแห้งและมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้
วิธีป้องกัน : พ่นด้วย BT 40-80 กรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน
cr.photo: nbair.res.in
เพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย
ลักษณะการทำลาย : ดูดน้ำเลี้ยงจากผล
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย เซฟวิน 85% (Sevin85) ฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ หรือใช้ไซเปอร์เมทริน
Cr. Photo: thoughtco.com
Cr. Photo: invasive.org
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกับเพลี้ยหอย
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยไทอะมีโทแซม (Thiamethoxam) ร่วมกับไวท์ออยล์ (White Oil)
Cr. Photo: agrinfobank.com
Cr. Photo: entnemdept.ufl.edu
หนอนปลอก
เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ ฉีดพ่นด้วยเชื้อบีทีชนิดผง 20-30 กรัม /น้ำ 15 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ2ครั้ง/สัปดาห์ *กรณีระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยเชฟวิน 85 % อัตราส่วน 25-40กรัม/น้ำ20ลิตร พ่น1-2 ครั้ง
หนอนหน้าแมว
เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
Cr. Photo: pestnet.org
แมลงดำหนามมะพร้าว
พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะยอดอ่อน
วิธีป้องกัน : ฉีดพ่นเชื้อราขาว ปล่อยแมลงหางหนีบ หรือมัมมี่แตนเบียน
Cr.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร
มวนพิฆาตหรือตัวห้ำ
Cr:ฝ่ายส่งเสริมเกษตร บริษัท ไบโอ-อะกริ จำกัด
มวนพิฆาตเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติพวกแมลงห้ำ มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายศัตรูพืชได้หลายชนิด
โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อต่างๆ ตลอดชีวิตของมวนพิฆาต สามารถทำลายหนอนศัตรูพืชได้ประมาณ 214-258 ตัว
เฉลี่ย 6 ตัว/วัน มวนพิฆาตมีปากคล้ายเข็ม เมื่อพบเหยือจะจู่โจมเหยื่อแทงเข้าไปในตัวหนอน
แล้วปล่อยสารพิษ ทำให้ศัตรูเป็นอัมพาต จากนั้นจึงจะดูดกินของเหลว จนศัตรูแห้งตาย
ลักษณะการทำลาย : มวนพิฆาตไม่สร้างความเสียหายให้กับต้นปาล์มน้ำมัน แต่ยังส่งผลดีในการช่วยกำจัดหนอนหน้าแมว
วิธีป้องกัน : -
หนู
ลักษณะการทำลาย :
หนูจะทำความเสียหายปาล์มน้ำมัน 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (อายุ เริ่มปลูก-4 ปี) สภาพพื้นที่ในสวนปาล์มมักนิยมปลูกพืชคลุมดิน หรือไม่ก็มีวัชพืชขึ้นรกรุงรังแทนที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการเป็นที่หลบอาศัยของหนูชนิดต่างๆ โดยหนูจะเข้ามากัดทำลายโคนต้นอ่อน ยอดต้นอ่อนและทางใบปาล์มส่วนที่อยุ่ติดกับพื้นดิน หากร่องรอยการทำลายมีมาก โดยเฉพาะที่โคนต้นอ่อนจะทำให้ต้นปาล์มแห้งตายในที่สุด
ระยะที่ 2 (อายุ 5-25 ปี) หนูจะเป็นปัญหามากที่สุด โดยจะกินทั้งผลปาล์มดิบและสุกเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ช่อดอกเกสรตัวผู้ของปาล์มยังเป็นแหล่งอาศัยของตัวอ่อนของด้วงผสมเกสรในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นอาหารของหนูอีกชนิดหนึ่งด้วย ด้วยเหตุนี้เราอาจใช้ร่องรอยการทำลายของหนูบนช่อดอกเกสรตัวผู้ที่บานและแห้งแล้ว เป็นตัวชี้ว่าสวนปาล์มนั้นมีจำนวนประชากรหนูอยู่มากหรือน้อยโดยคร่าวๆได้
ชนิดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง พบมากในสวนปาล์มน้ำมันที่อายุไม่เกิน 4 ปี โดยเฉพาะที่มีป่าหญ้าคาและหญ้าขนขึ้นในพื้นที่ หนูชนิดนี้มีขนาดใหญ่ มีแผงขนบริเวณหลังและท้องสีเทาเข้ม นิสัยดุร้าย ไม่ชอบปีนป่ายต้นไม้ แต่จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
2. หนูฟันขาวใหญ่ พบในสวนปาล์มน้ำมันที่อยู่ริมคูน้ำระหว่างเนินเขาและติดชายป่า หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงกับหนูพุกใหญ่ หนูฟันขาวใหญ่จะไม่มีแผงขนที่หลัง ขนที่ท้องสีครีม และนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย นิยมทำลายต้นปาล์มอ่อน จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
3. หนูฟานเหลือง พบในสภาพป่าทุกประเภท และพบเพียงเล็กน้อยในสวนปาล์มที่มีอายุ 5 ปี บมากใน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล หนูฟานเหลืองเป็นหนูขนาดกลาง หน้าขาวด้านหลังสีเหลืองส้มปนขนสีดำประปราย ท้องสีขาวครีมล้วนๆ หางมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาวปลายหางยาว อุปนิสัยเชื่องช้า ไม่ดุร้าย อาหารคือ รากไม้ ผลไม้ แมลง หอย พ
4. หนูนาใหญ่ เป็นศัตรูที่สำคัญในสวนปาล์มที่อายุระหว่าง 4-7 ปี พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ชอบอาศัยในดงหญ้ารก ใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ชอบขุดรูบนพื้นดินที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม รังหนูอยู่ลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 0.5 เมตร หนูจะอพยพหนีน้ำไปหาแหล่งอาศัยที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น มันจะทำรังในดงหญ้าโดยหักใบหญ้ามาสุมทำรังเหนือระดับน้ำ
5. หนูท้องขาว เป็นชนิดพบมากที่สุดในสวนปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเมื่อปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ (อายุ 6 ปีขึ้นไป) เช่นที่ จังหวัดสตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานีและชุมพร หนูชนิดนี้มีหลายชนิดและความแตกต่างกันมาก สามารถจำแนกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
เมื่อใดควรปราบหนู
สามารถนำข้อมูลมาประเมินได้ 4 วิธี ดังนี้
วิธีป้องกันกำจัดหนู
1. การล้อมตี วิธีนี้ต้องใช้จำนวนคนค่อนข้างมาก โดยการยกทางใบที่กองอยู่ระหว่างต้นปาล์มออก เนื่องจากใต้กองทางใบปาล์มเป็นแหล่งที่อยู่และขยายพันธุ์ของหนู หรือจะใช้รถไถที่สามารถตีทางใบปาล์มแห้งให้ละเอียด แล้วให้คนคอยดักตีหนูที่วิ่งออกมา หรือใช้ไม้ไผ่ยาวๆ แทงตามซอกทางใบและซอกทะลายปาล์มบนต้น เพื่อไล่หนูที่หลบซ่อนอยู่ให้ตกลงพื้นดินแล้วใช้คนไล่ตี วิธีการนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้ผลดีก็ต้องกระทำบ่อยๆ ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลามาก และไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรหนูได้ในระยะยาว
2. การดัก การดักโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักที่สามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนมากจะใช้ได้ผลดีในเนื้อที่จำกัด และไม่กว้างขวางนักหรือเป็นวิธีเสริมหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดหนูแล้ว เช่น ในแปลงเพาะปลูกขนาดเล็กที่ปริมาณของหนูศัตรูปาล์มไม่มาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เหยื่อดัก การเลือกเหยื่อชนิดใดควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดนั้นมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ราคาเหยื่อต้องไม่แพงจนเกินไป
ตำแหน่งที่วางกรงหรือกับดักหนู คือตามร่องรอยทางเดินหากินของมันบนพื้นดิน ข้างกองทางใบ หรือโคนต้นจะสะดวกและปลอดภัยกว่าการวางบนต้นที่ทะลาย เพราะบ่อยครั้งที่พบงูเห่าขึ้นไปนอนคอยกินหนูบนยอดปาล์ม
3. การเขตกรรม เช่น การหมั่นถางหญ้าบริเวณรอบโคนต้นปาล์มโดยห่างโคนต้นประมาณ 1-1.5 เมตร อย่าให้มีหญ้าขึ้นรก หรือทำลายทางใบปาล์มที่กองไว้ หนูก็จะไม่มีที่หลบซ่อน ทำให้ง่ายต่อการกำจัดโดยวิธีอื่นๆ
4. การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูทางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก นกฮูก สัตว์เหล่านี้ช่วยกำจัดหนูโดยกินเป็นอาหาร จำเป็นต้องสงวนปริมาณไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ เพื่อคอยควบคุมประชากรหนูไว้ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะถ้าทำลายสัตว์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้หมดไป จะเป็นเหตุให้หนูขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่ปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก
พื้นที่สวนปาล์มใดถ้ามีศัตรูธรรมชาติ เช่น นกแสก นกฮูก เหยี่ยว หรือนกเค้าแมวมาก ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์เร็ว เพราะจะเป็นอันตรายต่อนกเหล่านี้ที่กินหนูตัวที่ได้กินเหยื่อพิษชนิดนี้มาก โดยปกติเกษตรกรที่จะกำจัดหนูโดยใช้ศัตรูธรรมชาติและสารกำจัดหนูเข้าช่วย สารกำจัดหนูที่ใช้ควรเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ช้าจะปลอดภัยต่อนกศัตรูธรรมชาติของหนูมากกว่า
เป็นวิธีการที่ลดจำนวนประชากรของหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถลดปริมาณได้ในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังทำได้ในบริเวณกว้าง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย
สารกำจัดหนูที่ได้ทำการทดสอบในสวนปาล์มน้ำมันแล้วและได้ผลดีมาก เป็นสารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดสำเร็จรูปที่หนูกินครั้งเดียวตาย
แต่หนูจะตายหลังกินเหยื่อพิษไปแล้ว 2-10 วัน และมักจะตายในรูหรือรังหนู จึงมักไม่พบซากหนูตาย สารกำจัดหนูุนี้ จะเป็นชนิดชนิดก้อนขี้ผึ้งก้อนละประมาณ 5 กรัม ได้แก่ โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) และโบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%)
ขั้นตอนการวางเหยื่อพิษมีดังนี้
1. นำเหยื่อพิษวางในจุดต่างๆ ได้แก่ โบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%) โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) ชนิดใดชนิดหนึ่ง วางที่โคนต้นปาล์มต้นละ 1 ก้อน ในขณะที่วางเหยื่อพิษ ควรจะวางให้ชิดกับโคนต้นและตรงข้ามกับทางน้ำไหลของน้ำฝน เนื่องจากภาคใต้มีปริมาณฝนมาก อาจจะพัดพาเหยื่อพิษไปได้
3. ทุก 7-10 วัน ตรวจนับจำนวนเหยื่อพิษที่ถูกหนูกินไป และเติมเหยื่อทดแทนก้อนที่ถูกกินไป ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าเปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อจะลดลงต่ำลง จากการทดลองพบว่า เมื่อวางเหยื่อพิษแล้ว 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 10 วัน เปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อพิษจะลดลงต่ำกว่า 20% จึงหยุดวางเหยื่อพิษ
4. ภายหลังการวางเหยื่อครั้งสุดท้ายผ่านไปแล้ว 6 เดือน ควรตรวจนับเปอร์เซ็นต์ร่องรอยการทำลายใหม่อีก หากพบว่าเกิน 5% ก็ควรเริ่มการกำจัดหนูวิธีการเช่นเดิมอีก
สรุป
การป้องกันกำจัดหนูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในประเทศไทยมีจำนวนหลายแสนไร่ ได้ความเสียหายที่เกิดจากหนู นับเป็นมูลค่าะนับพันล้านบาทต่อปี ดังนั้นถ้ามีการป้องกัน กำจัด จะให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลงทุน
ข้อมูลจาก http://www.thaikasetsart.com
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากบรรดาศัตรูของต้นกล้ากันนะคะ ซึ่งก็คือ การหุ้มตาข่าย ป้องกันหนู ??
วิธีการป้องกันกำจัดหนู ในสวนปาล์ม
1. ใช้กรงดักหนู ในบริเวณที่เห็นร่องรอยการอาศัยอยู่ของหนู วิธีนี้เกษตรกรต้องซื้อกรงดักหนูเป็นจำนวนมาก
เพื่อดักหนูและลดประชากรของหนู วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการกัดกินของหนูได้
เพราะหนูขายพันธุ์ได้เร็ว ใน 1 ปีหนู 1 คู่สามารถขายพันธุ์ได้มากกว่า 1,000 ตัว
2. ตระแกรงป้องกันหนู วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่มีลูกค้าหลายรายยังใช้ไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถกันได้ 100%
เนื่องจากวิธีการใช้เอาไปใช้พันรอบต้นปาล์มแล้ว ไม่ปิดปากและฝังตระแกรงลงไปในดินด้วยบางส่วน
จึงทำให้หนูมุดเข้าไปกัดกินได้ต้องไม่ลืมบีบปากตระแกรง และฝังตระแกรงลงไปในดินส่วนหนึ่งด้วย
การใช้ตระแกรงต้องทำไปพร้อมกับการปลูกครั้งแรกเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น กล่าวคือ มีฝนตกชุก มีแสงแดดมาก ไม่มีสภาพอากาศหนาว ซึ่งสภาวะอากาศดังกล่าว ได้แก่ บริเวณเส้นศูนย์สูตร พบว่าปาล์มน้ำมันมีการกระจายอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ ถึง เส้นรุ้งที่ 15 องศาใต้ โดย 90% ของประเทศที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันจะอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มี 4 ปัจจัย คือ
ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน :
ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากน้ำมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร โดยปกติปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีการคายน้ำ 5-6 มม./วัน หากมีการขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตอีก 19-22 เดือนข้างหน้าลดลง ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน ควรจะอยู่ระหว่าง 2,000-3,000 มม./ปี และมีการกระจายของฝนดีในแต่ละเดือน โดยจะต้องมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม./เดือน การกระจายของน้ำฝนจะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งดินดังกล่าวจะมีการเก็บความชื้นได้น้อยจึงทำให้มีโอกาสขาดน้ำได้ง่าย ดังนั้นการใช้วัชพืชคลุมดิน ก็จะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยรักษาความชื้นไว้ในดินได้
พื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์ม ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจะให้ผลผลิตลดลง ในการรักษาระดับของผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนน้อย อาจทำได้โดยการติดตั้งระบบน้ำซึ่งจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตของปาล์มในช่วงฤดูแล้งได้ แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกมากเกินไป (มากกว่า 3,000 มม./ปี) ก็ไม่เหมาะกับปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะได้รับแสงแดดน้อยลง มีการท่วมขังของน้ำในที่ลุ่ม นอกจากนั้นจะมีการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าปกติ จากการศึกษาการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝน/ปี แตกต่างกัน พบว่าปริมาณฝนที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ควรมีเดือนที่ขาดน้ำ (เดือนที่ขาดน้ำ ได้แก่ เดือนที่มีน้ำฝนน้อยกว่า 100 มม./เดือน) หากมีการขาดน้ำมากกว่า 4 เดือน (มีช่วงฤดูแล้งที่ยาวนาน) พื้นที่ดังกล่าวจะไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน แต่สามารถแก้ไขได้โดยมีการตั้งระบบน้ำให้กับปาล์มน้ำมัน หากมีสภาพการขาดน้ำในรอบปีมาก จะทำให้จำนวนทะลาย น้ำหนักทะลาย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง
ปริมาณแสงแดด :
ปริมาณแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญรองจากปริมาณน้ำฝน โดยปกติปาล์มน้ำมันจะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน (ได้รับพลังงานแสงไม่น้อยกว่า 17 MJ/ตารางเมตร/วัน) เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืชทุกชนิด หากปาล์มน้ำมันได้รับปริมาณแสงน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง การสร้างดอกตัวเมียน้อยลงซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนั้นยังทำให้สัดส่วนของผลต่อทะลายลดลงซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันลดลงอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยปริมาณของแสงเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปัจจัยของแสงจะมีปัญหากับปาล์มน้ำมันเมื่อปลูกปาล์มไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกในระยะที่ชิดจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้นทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับระยะปลูกและการตัดแต่งทางใบ เพื่อให้ปาล์มมีจำนวนใบและมีพื้นที่ใบที่จะรับแสงได้เหมาะสมตลอดอายุของการเจริญเติบโตของปาล์ม พบว่าช่วงแรกของการเจริญเติบโต การตัดแต่งทางใบไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก แต่เมื่อปาล์มน้ำมันโตมากขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งทางใบมากขึ้น เพื่อทำให้มีพื้นที่ใบรับแสงแดดได้อย่างเพียงพอ ในสภาพที่ปาล์มน้ำมันถูกบังแสง จะทำให้สร้างอาหารได้น้อยลง และทำให้มีการสร้างดอกตัวเมียน้อยลง มีการศึกษาพบว่าช่วงเดือนที่มีกลางวันสั้น จะมีผลทำให้สัดส่วนเพศของปาล์มน้ำมันลดลง
อุณหภูมิ :
อุณหภูมิ มีผลต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันควรอยู่ช่วง 22-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิปกติของเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบกับปาล์มน้ำมันน้อยกว่าอุณหภูมิที่ต่ำ ในสภาพอุณหภูมิที่สูงจะมีผลกับการคายน้ำของปาล์มน้ำมันซึ่งจะทำให้ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ แต่ในสภาพอุณหภูมิต่ำปาล์มน้ำมันจะมีพัฒนาของใบช้าลง มีการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกล้าปาล์มน้ำมันจะจำกัดอย่างมากเมื่ออุณหภูมิต่ำว่า 15 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 20 องศาเซลเซียส กล้าปาล์มจะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 25 องศาเซลเซียส
ความสูงจากระดับน้ำทะเล :
มีผลกับอุณหภูมิเช่นเดียวกัน (อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร) มีรายงานว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในบริเวณพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร จะให้ผลผลิตช้ากว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ต่ำถึง 1 ปี
ลม :
ลำต้นของปาล์มน้ำมันไม่แข็งแรง (ซึ่งแตกต่างกับมะพร้าว) จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง หรือ แนวพายุ ความเร็วลมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 0-10 เมตร/วินาที และการที่มีลมพัดช้าๆ จะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงเที่ยงวันได้ด้วย รากของปาล์มน้ำมันเป็นรากฝอย ทำให้ไม่ทนทานต่อกระแสลมที่พัดแรง ประกอบกับปาล์มน้ำมันมีทรงพุ่มใหญ่ทำให้ล้มได้ง่าย โดยเฉพาะการปลูกในพื้นที่พรุ นอกจากนั้นในพื้นที่ซึ่งมีลมแรงจะทำให้ใบปาล์มน้ำมันฉีกขาดหรือทางใบหัก เป็นผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในสภาพพื้นที่ซึ่งมีลมพัดโชยอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีแดดจัดจะช่วยเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการหายใจได้ดีขึ้น และเป็นการช่วยระบายความร้อนแก่ใบปาล์มด้วย
ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในพืชตระกูลปาล์ม ตระกูลย่อยเดียวกับมะพร้าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ผสมข้าม (ใช้เกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นตัวเอง) ปาล์มน้ำมันเป็นพืชสมบูรณ์เพศ คือ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียบนต้นเดียวกัน (แยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน) การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มน้ำมันรุ่นลูกที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์ ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้นหรือนำมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง
ต้นปาล์มน้ำมันจะไม่มีปาล์มต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ ต้นตัวผู้ที่เกษตรกรเข้าใจ คือ ต้นที่ผิดปกติซึ่งจะออกดอกตัวผู้มากกว่าปกติ (แต่ยังมีดอกตัวเมีย) ดังนั้นจึงเป็นต้นตัวผู้ไม่ได้
การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม
cr. photo:Figure 11.3. The Shell gene is responsible for the oil palm’s three known shell forms: dura (thick); pisifera (shell-less); and tenera (thin), a hybrid of dura and pisifera palms [56]. Tenera palms contain one mutant and one normal version, or allele, of Shell, an optimum combination that results in 30% more oil per land area than dura palms [57].
ดูรา (DURA) :
กะลาหนา 2-8 มม. ไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกบาง ประมาณ 35-60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล มียีนส์ควบคุมเป็นลักษณะเด่น ปาล์มชนิดนี้ใช้เป็นแม่พันธุ์
ฟิสิเฟอร่า (PISIFERA) :
ยีนส์ควบคุมลักษณะผลแบบนี้เป็นลักษณะด้อย ลักษณะผลไม่มีกะลาหรือมีกะลาบาง ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ทำให้ผลฝ่อลีบ ทะลายเล็กเนื่องจากผลไม่พัฒนา ผลผลิตทะลายต่ำมาก ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้าแต่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตลูกผสม เนื่องจากมีจำนวนดอกตัวเมียมาก
เทเนอร่า (TENERA) :
มีกะลาบาง ตั้งแต่ 0.5-4 มม. มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกมาก 60-90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ลักษณะเทเนอร่าเป็นพันธุ์ทาง เกิดจากการผสมข้ามระหว่างต้นแม่ดูราและต้นต่อฟิสิเฟอร่า
1. ซื้อจากแปลงเพาะที่ได้มาตรฐาน ได้รับใบอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้า จากกรมวิชาการเกษตร และมีใบรับรองให้กับเกษตรกรเมื่อซื้อกล้าปาล์ม
2. สอบถามข้อมูล ตรวจสอบแหล่งที่มาของพันธุ์ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
3. ต้นกล้าที่สมบูรณ์ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน และมีการคัดทิ้งต้นผิดปกติทางพันธุกรรม
คัดทิ้งและทำลายกล้าผิดปกติ ไม่นำมาจำหน่ายให้เกษตรกร
4. เลือกซื้อจากบริษัทที่มีการติดตามผล อย่างใกล้ชิด กรณีมีปัญหาสามารถปรึกษาได้ตลอดการเพาะปลูก
5. พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์จากแหล่งผลิตที่มีมาตรฐานและผ่านการคัดเลือกอย่างดีจะให้ผลผลิตดีกว่าปาล์มน้ำมันที่ไม่ทราบที่มา ซึ่งจะเป็นความเสี่ยงสำหรับเกษตรกร
6. พิจารณาเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในเขตที่เหมาะสม โดยศึกษาลักษณะเฉพาะและข้อจำกัดของปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
7. เลือกซื้อจากบริษัทที่มีนโยบายส่งเสริมการผลิตและการตลาดที่แน่นอน
ใช้กล้าปาล์มน้ำมันปลอม...เสียหายแค่ไหน! เนื่องจากในปัจจุบันได้มีการปลูกปาล์มน้ำมันกันอย่างกว้างขวางทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่กลับพบว่าเกษตรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันของไทยบางส่วน ได้นำกล้าปาล์มน้ำมันปลอมหรือกล้าปาล์มน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานมาปลูก ซึ่งอาจเกิดจากการขาดความใส่ใจถึงแหล่งที่มาของต้นกล้าหรือเลือกซื้อต้นกล้าปาล์มจากแหล่งเพาะกล้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ทุกท่านได้เห็นความสำคัญของกล้าปาล์มน้ำมัน บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ขอนำความเสียหายจากการปลูกปาล์มน้ำมันปลอม หรือปาล์มน้ำมันที่ไม่ได้มาตรฐานมาฝากแก่เกษตรกรทุกท่าน
ปาล์มน้ำมัน
เป็นพืชที่สามารถให้ผลผลิตทะลายสดได้ตลอดทั้งปี และมีอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ดังนั้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่เกษตรกรนำมาปลูก ต้องเป็นพันธุ์ปาล์มที่ดี จึงจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนในการผลิตตลอดจนอายุการเก็บเกี่ยวของปาล์มน้ำมันได้
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ดี
หมายถึง พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ ที่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำมัน / หน่วยพื้นที่ / หน่วยระยะเวลาสูง และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกได้ดี ปัจจุบันพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่นิยมปลูกเป็นการค้า จัดเป็นพันธุ์ลูกผสมแบบเทเนอรา ที่ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ซึ่งมีขั้นตอนสำคัญๆ สรุปได้ ดังนี้ 1. ต้องมีการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์แบบดูรา และพ่อพันธุ์แบบพิสิเฟอรา ที่มีลักษณะที่ดีจากประชากรที่ผ่านการปรับปรุงมาแล้ว 2. ต้องมีขั้นตอนและวิธีการในการผสมพันธุ์ระหว่างต้นแม่พันธุ์แบบดูรา และพ่อพันธุ์แบบพิสิเฟอราอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ลูกผสมแบบเทเนอราที่ถูกต้อง เพื่อนำมาทดสอบผลผลิตและความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่อไป 3. ลูกผสมเทเนอราที่ได้ในข้อ 2 ต้องใช้วิธีการทดสอบที่เชื่อถือผลการทดสอบได้ โดยพิจารณาถึงศักยภาพในการให้ผลผลิต ลักษณะประจำพันธุ์ต่าง ๆ ของคู่ผสม และความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ปลูกทดสอบ 4. ต้องมีวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ดีได้มาตรฐาน จากคู่ผสม (ต้นดูรา X ต้นพิสิเฟอรา) ที่ผ่านการทดสอบในขั้วลูกแล้ว
5. เมล็ดพันธุ์ที่ดีได้ในข้อ 4 ต้องนำมาเพาะงอก และเลี้ยงดูกล้าปาล์มในระยะกล้าอย่างถูกวิธีการ โดยต้องมีการคัดทิ้งและทำลายต้นกล้าปาล์มที่มีลักษณะผิดปกติ หรือที่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นลักษณะปกติ รวมทั้งต้นกล้าปาล์มที่ไม่สมบูรณ์ เพราะหากนำต้นกล้าปาล์มเหล่านี้ไปปลูก จะมีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม พบว่า ในปัจจุบันยังคงมีเกษตรกรอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญในการเลือกใช้พันธุ์ปาล์มที่ดี และมีการเก็บเมล็ดจากโคนต้นปาล์ม หรือต้นกล้าปาล์มที่งอกแล้วบริเวณโคนต้นปาล์มจากสวนปาล์มต่าง ๆ มาปลูกเอง หรือจำหน่ายให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่สนใจปลูกปาล์ม ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอย่างมากต่อการพัฒนาปาล์มน้ำมันของไทยต่อไปในอนาคต และเกิดผลเสียหายต่อทั้งเกษตรกรและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ดังนี้
ลักษณะของปาล์มน้ำมันที่ปลูกจากเมล็ดที่เก็บจากโคนต้นปาล์ม (พันธุ์ปลอม)
ปาล์มน้ำมันที่ปลูกจากเมล็ดที่เก็บจากโคนต้นปาล์ม มีความแปรปรวนของลักษณะต่างๆ สูงมาก โดยเฉพาะความแปรปรวนในลักษณะของผลปาล์ม นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยของลักษณะทางการเกษตรอื่นๆ เช่น จำนวนทะลายและขนาดทะลายก็มีความแปรปรวนสูงเช่นกัน รวมทั้งมีเปอร์เซ็นต์จำนวนต้นที่ไม่ให้ทะลายปาล์มเลยสูง โดยทั่วไปพันธุ์ปลอมจะมีผลผลิตทะลายปาล์มสด/ไร่/ปี ต่ำกว่าการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี (ลูกผสมเทเนอรา) ประมาณ 30-40% ซึ่งมีผลทำให้รายรับเป็นจำนวนเงินจากการขายทะลายปาล์มสด/ไร่/ปี ลดลง 30-40% เช่นกัน
ความเสียหายที่เกิดกับเกษตรกร จากการปลูกปาล์มน้ำมันที่เก็บเมล็ดจากโคนต้น (พันธุ์ปลอม)
ความเสียหายทางตรง :
เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เก็บเมล็ดจากโคนต้น จะมีต้นทุนในการผลิตสูง เนื่องจากต้องใช้ปัจจัยในการผลิตเท่าเดิม แต่การให้ผลผลิตทะลายสด/ไร่/ปี ต่ำจากการประมาณการผลผลิตทะลายสดตลอดอายุการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน (0-32 ปี) พบว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกจากเมล็ดที่เก็บจากโคนต้นปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตต่ำกว่าการใช้พันธุ์ดี ถึง 30,976.99 กก/ไร่ คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเงิน 92,930.98 บาท/ไร่ (กำหนดให้ราคาทะลายสดปาล์มน้ำมัน อยู่ที่ 3 บาท/กก. ตลอดอายุเก็บเกี่ยว)* ดังนั้นหากเกษตรกรรายหนึ่งมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ปลูกจากเมล็ดที่เก็บจากโคนต้น จำนวน 50 ไร่ จะทำให้เกษตรกรนั้น สูญเสียรายได้จากการขายผลผลิตทะลายสด เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,646,549 บาท ตลอดอายุการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน (0-32 ปี) * คำนวณผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่เก็บเมล็ดจากโคนต้นมาปลูก ให้ผลผลิตทะลายสดเพียง 62% ของปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี (ธีระและคณะ, 2545)
ความเสียหายทางอ้อม :
ความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ จากการปลูกปาล์มน้ำมันที่เก็บเมล็ดจากโคนต้น(พันธุ์ปลอม)
เนื่องจากปาล์มน้ำมัน เป็นพืชอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการหลายฝ่าย อีกทั้งมีความหลากหลายในการเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย หากพิจารณาถึงภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับปริมาณการผลิต และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดอายุการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน (0-32 ปี) เริ่มตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบทะลายสดปาล์มน้ำมันจนถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สำคัญๆ ที่ต่อเนื่องกันก่อนถึงผู้บริโภค โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้พันธุ์ดี กับพันธุ์ปลอม (เก็บเมล็ดจากโคนต้นมาปลูก) พบว่าการใช้พันธุ์ปลอม หรือการใช้เมล็ดจากโคนต้นปาล์มน้ำมันมาปลูก จะทำให้ประเทศสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเงิน 370,903 บาท/ไร่ ดังนั้นหากประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ปลอม หรือพันธุ์ที่เก็บเมล็ดจากโคนต้นมาปลูก จำนวนถึง 400,000 ไร่ นั่นแสดงว่า ประเทศชาติต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนเงินมหาศาล คือ ประมาณ 148,361,200,000 บาท ตลอดอายุการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน (0-32 ปี) หรือสูญเสียรายได้ คิดเฉลี่ยปีละ 4,636,287,500 บาท/4 แสนไร่/ปี การปลูกปาล์มน้ำมันที่เก็บเมล็ดจากโคนต้นปาล์ม (พันธุ์ปลอม) ทำให้ปาล์มน้ำมันที่ปลูกมีความแปรปรวนของลักษณะทางการเกษตรต่าง ๆ สูง และมีผลผลิตทะลายสด/ไร่/ปี ต่ำกว่าการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์แล้ว ประมาณ 30-40% ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดี คิดเป็นเงิน ดังนั้นก่อนการปลูกปาล์มน้ำมันทุกครั้ง เกษตรกรควรต้องมีความมั่นใจในความถูกต้องของพันธุ์ปาล์มก่อนเสมอ
อ้างอิง : เส้นทางสู่ความสำเร็จ การผลิตปาล์มน้ำมัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การเลือกพื้นที่ ปลูกปาล์มน้ำมัน
· ควรเลือกพื้นที่ที่ดินมีชั้นหน้าดินลึกมากกว่า 75 ซม. มีความอุดมสมบูรณ์สูงถึงปานกลาง
· ลักษณะดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว ดินเหนียวไม่มีชั้นดินดาน
· มีการระบายน้ำดีถึงปานกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่เหมาะสม 5-6
· ความลาดเอียงไม่เกิน 12 %
· ควรมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 2,000 มม./ปี มีช่วงแล้งติดต่อกันไม่เกิน 2-3 เดือน
· มีแหล่งน้ำสำรองเพียงพอ กรณีที่มีช่วงแล้งติดต่อมากกว่า 4 เดือน
· พื้นที่ที่มีสภาพไม่เหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มน้ำมัน เช่น ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพดินพรุ
· ดินค่อนข้างเค็ม พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังมานาน ต้องมีการจัดการแก้ไขตามสภาพปัญหาของดินแต่ละชนิด
การเตรียมพื้นที่
- โค่นล้มและกำจัดซากต้นไม้วัชพืชออกจากแปลง ไถพรวนดินด้วยผ่าน 3 และผ่าน 7 ปรับพื้นที่ให้เรียบ
- ตัดถนนในแปลงเพื่อใช้เป็นเส้นทางของการขนส่งผลผลิต ทำร่องระบายน้ำภายในแปลง - การโค่นล้มปาล์มเก่า เพื่อปลูกปาล์มใหม่ทดแทน ควรใช้วิธีสับต้นและกองให้ย่อยสลายในแปลง
- ไม่ควรกองซากต้นสูงเกินไปจะเป็นที่วางไข่ของด้วงแรด
- ควรให้แถวปลูกหลักอยู่ในทิศเหนือ-ใต้ ระยะการปลูก 9x9x9 เมตร วางผังเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเพื่อให้ต้นปาล์มได้รับแสงแดดมากที่สุดและสม่ำเสมอปลูกจำนวนต้นต่อไร่ได้เพิ่มมากขึ้น
- ควรปลูกพืชคลุมดินในช่วงเตรียมพื้นที่ ในสัดส่วนถั่ว เพอราเนีย : ถั่วคาโลโปโกเนียม: ถั่วซีรูเลียม 3:3:1 โดยหว่านเมล็ดในอัตรา 1.5-2 กิโลกรัมต่อไร่หรือปลูกพืชตะกูลถั่วแซมสวนปาล์มน้ำมันในช่วง อายุ 1-3 ปี
- ควรเลือกพื้นที่ที่มีชั้นหน้าดินลึก เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน ความลาดชันไม่ควรเกิน 28 องศา
การวางแนวปลูกปาล์มน้ำมัน
แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการสังเคราะห์แสงของใบพืช เพื่อประสิทธิภาพในการปรับปรุงอาหาร สร้างความเจริญเติบโตลำต้น ดอก ใบ กิ่ง ก้าน สาขา ผลผลิต โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน มีความต้องการแสงสูงมาก อย่างน้อย 5 ชั่วโมงต่อวัน การวางผังปลูกปาล์มน้ำมันจึงต้องคำนึงถึงระยะปลูกทิศทางของแสงแดดเพราะปัจจัยเหล่านี้ มีผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันที่ทำให้เกษตรได้ผลผลิตสูงแต่ถ้าหากเกษตรกรวางผังการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะส่งผลทำให้ได้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลงกว่าปริมาณที่ควรจะได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
การปลูกแนวขวางตะวัน (เหนือ-ใต้) จะลดการบังแสงตามรูปเปรียบเทียบ
*ระยะปลูกเบื้องต้นที่แนะนำอยู่ที่ 9x9x9 ม. (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และความเหมาะสมพื้นที่)
น้ำมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของธาตอาหาร โดยปกติปาล์มที่เจริญเติบโตเต็มที่ จะมีการคายน้ำ5-6 มม./วัน หากมีการขาดน้ำจะทำให้มีการสร้างดอกตัวเมียน้อย
ซึ่งจะมีผลกับผลผลิตในอีก 19-22 เดือนข้างหน้า ปริมาณน้ำที่เหมาะสม ควรอยู่ที่2,000-3,000 มม./ปี
ในสภาพพื้นที่ ที่ช่วงฤดูแล้งยาวนานหรือสภาพพื้นที่ ที่มีค่าการขาดน้ำมากกว่า 3,000 มม./ปี หรือมีช่วงแล้งติดต่อกันยาวนานกว่า 4 เดือน
ควรมีการให้น้ำในปริมาณ 150-200 ลิตร/ต้น/วัน
ระบบน้ำในสวนาล์ม ที่นิยมใช้มีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่
ระบบน้ำหยด
เหมาะสมกับพื้นที่:
ข้อดี: ข้อเสีย:
ระบบมินิสปริงเกอร์
ข้อดี: ข้อเสีย: ชำรุด และหักได้ง่าย จากการที่ทางใบและทะลายหล่นใส่
cr.photo: pexels
ระบบแบบยกร่อง
เหมาะสมกับพื้นที่: ที่นาเก่า/ สวนส้มเก่า/ พื้นที่ต่ำระบายน้ำได้ยาก/ พื้นที่น้ำท่วมบ่อย
ระบบเทปน้ำพุ่ง
ข้อดี: ซ่อมง่าย ดูแลง่าย ข้อเสีย: ต้องใช้เเรงดันน้้ำ
ขุั้นตอนการเตรียมหลุมปลุกปาล์มน้ำมัน มีขั้นตอนดังนี้
- ควรใช้ต้นกล้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไปต้นกล้าสมบูรณ์แข็งแรงไม่แสดงอาการผิดปกติ มีรูปขนนกอย่างน้อย 2 ใบ
- ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ไม่ควรปลูกช่วงปลายฝนต่อเนื่องฤดูแล้งหรือหลังจากปลูกปาล์มน้ำมันแล้วจะต้องมีฝนตกอย่างน้อยประมาณ 3 เดือน ก่อนเข้าฤดูแล้ง
- ขุดหลุมให้มีขนาดใหญ่กว่าถุงต้นกล้าเล็กน้อย ความลึกประมาณขอบด้านบนของถุงต้นกล้าปาล์ม กรณีดินผ่านขบวนการไถพรวน ขุดหลุมรูปตัวยูหรือทรงกระบอก ควรแยกดินด้านบน-ล่างออกจากกัน
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยร็อคฟอสเฟส (0-3-0) อัตราส่วน 500 กรัม/ต้น/หลุม โดยการนำผสมเข้ากับดิน
- ถอดถุงพลาสติกออกจากต้นกล้าปาล์มน้ำมัน ระวังอย่าให้ดินแตกจะทำให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต
วิธีหุ้มตาข่ายป้องกันหนู
-ควรใช้ตาข่ายหุ้มรอบโคนเพื่อป้องกันหนู (ขนาดกว้าง 30 ซม. x ยาว 70 ซม.)โดยการหุ้มตั้งแต่บริเวณครึ่งถุงชำ และมีตาข่ายสูงขึ้นเหนือถุงชำ
- วางต้นกล้าให้ตั้งตรงแล้วจึงอัดดินให้แน่น เมื่อปลูกเสร็จแล้วโคนต้นกล้าจะต้องอยู่ในระดับเดียวกันระดับดินเดิมของแปลงปลูกไม่ลึกเกินไป บีบตาข่ายให้หุ้มชิดบริเวณโคนต้น
-หลังจากการปลูกเตรียมป้องกันกำจัดหนูโดยวิธีผสมผสาน หากสำรวจพบว่ามีหนูเข้ามาทำลายควรวางเหยื่อพิษหรือใช้กรงดักหนู
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ทะลาย) ออกไป ซึ่งเป็นการนำธาตุอาหารในต้นปาล์มออกไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งปาล์มน้ำมันยังเป็นพืชที่มีการสะสมอาหารในปริมาณที่สูงไว้ในต้นด้วย การจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้มีกำไรสูงสุด
เกษตรกรจะพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการจัดการสวนปาล์ม (มากกว่า 50 % ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด) จะใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยมากที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธาตุอาหารพร้อมทั้งหน้าที่ของธาตุอาหารแต่ละอย่าง และเรียนรู้ถึงความต้องการอาหารของต้นปาล์มน้ำมันอย่างแท้จริง คำตอบในเรื่องนี้คือ การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน ไม่มากหรือน้อยเกินไป การใส่ปุ๋ยมากเกินไป นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น ยังมีผลเสียต่อต้นปาล์มได้อีกด้วย
ธาตุอาหารหลักที่ปาล์มน้ำมันต้องการ
ปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุเหมือนกับพืชชนิดอื่น แต่ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน
การประเมินความต้องการปุ๋ย
พิจารณาจากผลการวิเคราะห์ใบ หรือจากลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของต้นปาล์มน้ำมัน
1. ไนโตรเจน (N)
หน้าที่ เพิ่มพื้นที่ใบ สีใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต สร้างโปรตีน สร้างคลอโรฟิลส์ ถ้ามีมากเกินไป ผลผลิตลดลง อ่อนแอต่อโรคและแมลง
อาการขาดธาตไนโตรเจน ใบเหลือง ผลผลิตลด มักพบในต้นปาล์มน้ำมันที่ถูกน้ำท่วมขัง หรือปลูกในดินทรายตื้นๆ หรือมีหญ้าคาขึ้นปกคลุมบริเวณราก
คำแนะนำ : ควรแบ่งใส่หลายครั้ง สูตร 46-0-0 = 0.5-3 กก./ต้น/ปี หรือใส่ 21-0-0 = 1-4 กก./ต้น/ปี
2. ฟอสฟอรัส (P)
หน้าที่ ควบคุมการเจริญเติบโต การสังเคราะห์แสง การหายใจ การแบ่งเซลส์ คุณภาพการสุกของผลและการสร้างดอก
อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส ปาล์มน้ำมันชะงักการเจริญเติบโต ทางใบสั้นลง ลำต้นและทะลายเล็กลง สังเกตการขาดธาตุฟอสฟอรัสได้จากต้นหญ้าคาที่ขึ้นในบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน มีใบล่างสีม่วง
คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย 18-46-0 = 1.5-2 กก./ต้น/ปี หรือ 0-3-0 = 2.5-3 กก./ต้น/ปี
3. โพแทสเซียม (K)
หน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการการสังเคราะห์แสง การสร้างโปรตีน การหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุล และควบคุมการเปิดปิดของปากใบในเซลล์พืช การคายน้ำ การแบ่งเซลส์ และช่วยให้ปาล์มน้ำมันทนทานต้อความแห้งแล้ง ทำให้ทะลายใหญ่ และจำนวนมากขึ้น
อาการขาดธาตุโพแทสเซียม แสดงอาการได้หลายอย่าง
คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย 0-0-60 = 4 กก.ต้น.ปี
4. แมกนีเซียม (MG)
หน้าที่ เกี่ยวข้องกับระบบเอนไซม์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลส์ ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารให้กับปาล์ม
อาการขาดธาตุแมกนีเซียม ใบย่อยของทางใบล่างมีสีเขียวซีด ในระยะต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มและแห้งในที่สุด
วิธีการใส่ แบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็นหลายๆ ครั้ง ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมก่อนการใส้โพแทสเซียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการขัดขวางการดูดธาตุอาหารซึ่งกันและกัน ในส่วนของไดโลไมท์ ใช้เพื่อปรับปรุงดินที่มีความเป็นกรด (pH ต่ำ) และให้ธาตุแมกนีเซียมกับปาล์มน้ำมัน แต่ควรใช้ไดโลไมท์เมื่อมีการวิเคราะห์ดินเท่านั้น การหว่านปูนไดโลไมท์ควรหว่านในระหว่างแถวของปาล์มน้ำมัน และไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียทันทีหลังจากหว่านไดโลไมท์ เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนเร็วขึ้น
คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย คีเซอร์ไรด์ ( 27 % Mgo,23%S) = 1.5-2 กก./ต้น/ปี
5. โบรอน (B)
หน้าที่ เกี่ยวข้องกับระบบเอนไซม์ การสร้างผนังเซลล์ การสร้างโปรตีน และการสร้างเมล็ด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื้ออ่อน ทำให้ท่อน้ำละอองเกสรแข็งแรงและช่วยในการเจริญเติบโตของละอองเกสร ในปาล์มน้ำมันจะทำให้การติดผลดีขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายเพิ่มมากขึ้น
อาการขาดธาตุโบรอน ใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ใบรูปตะขอ ใบย่น ใบที่ยอดสั้น
คำแนะนำ : ใส่โบรอน 30-100 กรัม/ต้น/ปี
6. เหล็ก
7. ทองแดง
8. กำมะถัน
โรคทางใบบิด
สาเหตุ : ส่วนมากพบในปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี
วิธีแก้ไข : ตัดทางใบที่เป็นโรคออก โดยตัดให้ต่ำกว่าส่วนของเนื้อเยื่อที่เน่า ฉีดพ่นด้วยแคปแทน 0.2% หรือไทอะเบ็นดาโซล 0.1% และสารฆ่าแมลง Trichlorphon
โรคยอดพับ
สาเหตุ : 1. การถูกยาฉีดหญ้าชนิดดูดซึม
2. มีหนอน แมลงไปกัดบริเวณโคนยอด
3. ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูงเกินไป
วิธีแก้ไข : ใช้กรรไกรตัดโคนยอดที่หักทิ้ง พ่นยาฆ่าแมลง หนอน และยาฆ่าเชื้อรา
โรคใบจุด
สาเหตุ : เชื้อรา Drechslera Halodes
วิธิแก้ไข : พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไทแรม หรือ แคปแทน ทั้งบนใบและใต้ใบ
โรคยอดเน่า
สาเหตุ : เชื้อราฟิวซาเรียม และเชื้อแบคทีเรียพวกเออร์วีเนีย
วิธีแก้ไข : 1. ดูแลโคนต้น อย่าให้มีวัชพืชปกคลุม
2. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วราดกรวยยอดของต้นที่เป็นโรคด้วยไทแรม อัตรา 130 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ สารแมนโคเซ็บ อัตรา 120 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบทุกๆ 5-7 วัน
โรคใบจุดสาหร่าย
สาเหตุ : เชื้อรา Cephaleuros Virescence Kunze
วิธีแก้ไข : ตัดแต่งทางล่างๆ ที่แสดงอาการของโรคออกนั้น จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไม่ให้ลุกลามได้
โรคใบไหม้
สาเหตุ : เชื้อรา Curvularia Eragrostidis
วิธีแก้ไข : พ่นด้วยสารป้องกันโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดง เป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม 75% WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด
โรคลำต้นเน่า
สาเหตุ : เชื้อเห็ด Ganoderma Boninense
วิธีแก้ไข : 1. การเขตกรรม
- ขุดหลุมรอบต้นปาล์มที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด
- เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นบนโคนต้นที่เป็นโรค หรือที่รากบริเวณผิวดินทิ้งทำลาย
- การปล่อยน้ำขังท่วมแปลง การทำให้ธาตุอาหารไม่สมดุล เกิดการขาดสารอาหาร
2. ผ่าเอาส่วนที่เป็นโรคออก โดยใช้เลื่อยตัดทิ้งส่วนที่อยู่เหนือดิน และส่วนที่อยู่ใต้ดิน แล้วทาด้วย Coal Tar
3. การใช้เชื่อราปฏิปักษ์ร่วมกับเชื้อราที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อควบคุมและทำลายเชื้อ
4. การใช้สารเคมี ต้องมีการรักษาอย่างทันที โดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ไม่เฉพาะกับต้นที่เป็นโรคเท่านั้น ต้องใช้กับต้นข้างเคียงหรือต้นที่เริ่มแสดงอาการด้วย
โรคลำต้นส่วนบนเน่า
สาเหตุ : เชื้อรา Phellinus Noxius
วิธีแก้ไข : 1. ตัดแต่งทางใบแก้ให้เหลือตอสั้นที่สุด
2. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกในระยะแรกก่อนการสร้างดอกเห็ด แล้วพ่นด้วยสาร Tridemorph (1% Calixin)
3. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นเพื่อฟังเสียง
4. ขุดต้นที่เป็นโรคหักล้มออกให้หมด
โรคเชื้อรา
สาเหตุ : เกิดจากพื้นที่ที่เคยเป็นป่า หรือพื้นที่ที่เคยปลูกยางพารามาก่อน แล้วปล่อยตอไว้จนปกคลุมด้วยเส้นใยเชื้อรา
วิธีแก้ไข : เชื้อราจะสร้างดอกเห็ดที่ทางใบ และก้านใบล่างๆ แต่จะไม่ได้ทำอันตรายกับต้นปาล์ม จึงไม่จำเป็นต้องกำจัด
โรคผลร่วง
สาเหตุ
1. โรค Dry Basal Rot ทะลายแสดงอาการเน่าแห้ง
2. การเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย Rhadinaphelenchus Cocophilus
3.การผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์
4.การขาดธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันช่วงที่ให้ผลผลิตสูง
วิธีแก้ไข
1. ทำลายส่วนที่แสดงอาการออกให้หมด
2. ให้ปุ๋ยและน้ำแก่ปาล์มในช่วงที่มีผลผลิตสูง
โรคทะลายเน่า
สาเหตุ : เชื้อรา (Marasmius sp.)
ลักษณะอาการ : ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะนุ่ม ถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้น มากเชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลายเปล่า หรือทะลายที่เน่า
วิธีแก้ไข : กำจัดทะลายที่แสดงอาการออกให้หมด รวมทั้งช่อดอกตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ตัดส่วนที่เป็นโรคแล้ว ฉีดพ่นด้วยสารเคมี
เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันหลายพื้นที่ต้องประสบปัญหาภาวะฝนทิ้งช่วง ในช่วงฤดูแล้งติดต่อกันนานกว่า 3 เดือน ซึ่งปาล์มน้ำมันที่ปลูกในสภาพพื้นที่ช่วงแล้งเป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อปาล์มน้ำมันได้ เช่น การลดลงของช่อดอกตัวเมีย มีการเพิ่มขึ้นของดอกตัวผู้หรือช่อดอกที่ออกมาแล้วกระทบแล้ง ทำให้เป็นหมันส่งผลให้ผลผลิตลดลง เพื่อให้ต้นปาล์มมีความสมบูรณ์และกระทบต่อความแห้งแล้งน้อยที่สุด บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ขอแนะนำพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ในการจัดการสวนปาล์มในช่วงฤดูแล้ง ดังนี้ 1. รีบใส่ปุ๋ยก่อนถึงช่วงแล้ง ประมาณเดือน พฤศจิกายน - มกราคม
2. ไม่กำจัดวัชพืชในช่วงหน้าแล้ง ปล่อยให้วัชพืชคลุมดินเพื่อเก็บความชื้นและรากของวัชพืชจะยึดดิน ไม่ให้แตกระแหง หากวัชพืชมีมากเกินไปให้ใช้วิธีตัด อย่าใช้ยาฆ่าหญ้าเด็ดขาด เพราะจะทำให้บริเวณสวนปาล์มน้ำมันแห้งแล้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเสี่ยงต่อการทำให้ไฟไหม้ได้ง่ายขึ้น
3. การตัดแต่งทางใบ ควรเก็บทางใบเรียงเป็นกองระหว่างต้นหรือระหว่างแถว เพื่อให้คลุมดิน และ คืนธาตุอาหารกลับสู่ดิน
4.ควรใช้ทะลายเปล่าหรือฟางข้าวคลุมโคนปาล์มน้ำมัน เพื่อรักษาความชื้นของหน้าดินหรือใช้น้ำหมักชีวภาพราดลงไปบนกองทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อช่วยย่อยเศษซากพืช ซากสัตว์ และเพิ่มความชื้นในดิน 5. หากมีแหล่งน้ำอยู่ในพื้นที่ เกษตรกรควรให้น้ำในสวนปาล์ม เพื่อลดการขาดน้ำของปาล์มน้ำมัน 6. หากพบหนอนปลอก หนอนหน้าแมว ระบาดช่วงหน้าแล้ง ให้ใช้ไซเปอร์แมททริน 25% ปริมาณ 0.5 ลิตร ผสมน้ำ 300 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน หรือตัดแต่งทางใบและเผาทำลายหนอนปลอก
7. รีบใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ทันทีหลังจากที่ฝนเริ่มตก ประมาณเดือนพฤษภาคม 8. หากสวนปาล์มโดนผลกระทบจากความแห้งแล้งอย่างรุนแรง ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอก่อน ได้แก่ สูตร 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 สูตร 19-19-19 (เลือกใช้สูตรใดสูตรหนึ่ง) เพื่อเร่งให้ทุกส่วนของปาล์มน้ำมันมีความสมบูรณ์เร็วขึ้น หลังจากนั้นตามด้วยปุ๋ยสูตร 0-0-60 เพื่อเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นเช่นเดิม ปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิต สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ต้นปาล์มจะต้องมีความสมบูรณ์ ต้นปาล์มที่สมบูรณ์จะต้องได้รับธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ
1. เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 30 เซนติเมตร
2. ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรมหรือตายได้
3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงเกษตรกรควรจัดการให้ต้นตั้งตรงเช่นเดิมโดยใช้ไม้ค้ำยัน
4. หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย เกษตรกรควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง ใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟส 0-3-0 ครึ่งกิโลกรัมแล้วปลูกซ่อมทันที
5. หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม
6. เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 7. ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า เกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่นหรือส่วนอื่นๆได้ 8. ภายหลังจากน้ำท่วมมักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไฟโซล-อลูมินั่ม (อาลีเอท) ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20ลิตร เกษตรกรควรถอดยอดปาล์มน้ำมันหรือส่วนที่เน่าออกก่อนแล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม
ในช่วงฤดูฝนอาจเกิดน้ำท่วมในสวนปาล์มได้ บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด จึงได้มีวิธีการดูแลสวนปาล์มมาแนะนำ ดังนี้
สำหรับปาล์มน้ำมันที่ถูกน้ำท่วมขัง ความเสียหายที่ได้รับอาจเกิดจากหลายปัจจัย คือ อายุของต้นปาล์มน้ำมัน
คุณภาพของน้ำที่ท่วมขัง และระดับของน้ำที่ท่วมขัง ดังนี้ 1. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1 – 3 ปี เมื่อถูกน้ำท่วมขัง
2. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปที่ถูกน้ำท่วมขัง
ปกติปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 3 ปี ระดับน้ำที่ท่วมขังส่วนใหญ่จะไม่ท่วมถึงระดับยอดปาล์มน้ำมัน หรือท่วมถึงยอดปาล์มน้ำมันในระยะเวลาไม่นานนัก จากนั้นจะท่วมขังในระดับผิวดิน หรือโคนต้นปาล์มน้ำมัน ผลกระทบที่เกิด ขึ้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้นปาล์มน้ำมันถูกน้ำท่วมขัง • น้ำท่วมขัง 0 - 15 วัน ต้นปาล์มน้ำมันสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ • น้ำท่วมขัง 15 - 30 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังจากน้ำลดแล้ว 30 วัน ทะลายที่ถูกน้ำท่วม จะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะต่อไป • น้ำท่วมขัง 30 - 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะเริ่มแสดงอาการใบเหลือง เนื่องจากการขาดธาตุอาหาร รากปาล์มน้ำมันบางส่วนเสียหาย ทะลายที่ถูกน้ำท่วมจะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำจะเริ่มฝ่อ และเน่าก่อนที่จะสุกเก็บเกี่ยวได้ ต้นปาล์มน้ำมันต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาว เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป • น้ำท่วมขังมากกว่า 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ต้นปาล์มน้ำมันผลิใบใหม่ได้น้อยมาก หรือไม่ผลิใบเพิ่ม ใบปาล์มน้ำ มันจะเหลือง ใบล่างจะแห้ง ยอดเรียวลง เนื่องจากระบบรากถูกทำลายต้นปาล์มน้ำมันไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นได้ ผลผลิตทะลายจะเสียหายเกือบทั้งหมด ต้องระบายน้ำที่ท่วมขังออกก่อน แล้วจึงฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาวเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป
3. วิธีการฟื้นฟูสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม
3.5 หลังน้ำลดและดินเริ่มแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 หลังจากโรยปูนขาวประมาณ 7-15 วัน เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม 3.6 เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 3.7 ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่าเกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่นหรือส่วนอื่นๆได้ 3.8 ภายหลังจากน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไทแรม หรือ คาร์บอกซิล ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรตัดยอดปาล์มน้ำมัน หรือส่วนที่เน่าออกก่อน แล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม
หากสวนปาล์มของท่านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมดังที่ได้กล่าวมา ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ แล้วสวนปาล์มของท่านจะฟื้นกลับมาและให้ผลผลิตกับท่านอย่างแน่นอน ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร
อายุการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมันจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกอายุประมาณ 30 เดือน นับจากหลังปลูกลงแปลง และจะให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่องเก็บเกี่ยวได้ตลอดปี แต่ต้องมีการดูแลรักษาที่เหมาะสมต่ออายุและสภาพพื้นที่
ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน 1. ตัดทะลายปาล์มน้ำมันอยู่ในระยะสุกพอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง แต่ไม่ควรตัดทะลายปาล์มที่ยังดิบอยู่ เพราะในผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและมีแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไปจะมีกรดไขมันอิสระสูง และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
วิธีการสังเกตปาล์มสุก มีดังนี้ - ชนิดผลดิบที่มีสีเขียว ให้เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตเป็นสีส้มมากกว่า 80% ของผล - ชนิดผลดิบที่มีสีดำ เมื่อสุกเปลี่ยนสีผลเป็นสีแดง ให้เก็บเกี่ยวเมื่อผลร่วงจากทะลาย 1-3 ผล
2. รอบของการเก็บเกี่ยว จะอยู่ในช่วงที่ผลปาล์มน้ำมันออกชุก ควรจะอยู่ในช่วง 10-20 วันแล้วแต่ฤดูกาล 3. ผลปาล์มที่เป็นลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
4. ก้านทะลายของปาล์มน้ำมันควรตัดให้สั้นและต้องให้ติดกับทะลาย 5. พยายามให้ทะลายปาล์มน้ำมันชอกช้ำน้อยที่สุด
ข้อควรคำนึง
1. ผลปาล์มน้ำมันที่ตัดแล้ว ควรจะดำเนินการจัดส่งให้ถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
2. ทะลายปาล์มสุกที่จัดว่าได้มาตรฐาน คือ ผลปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย 3. ผลปาล์มหากมีจำนวนเต็มทะลาย แสดงเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี 4. ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันที่มีอาการชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง 5. ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย 6. ไม่ควรให้มีทะลายที่สัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม 7. ไม่ควรให้มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น 8. ไม่ควรให้มีทะลายปาล์มน้ำมันเปล่า ๆ เจือปนด้วย 9. ความยาวของก้านทะลายควรไว้ ควรให้มีความยาวประมาณ 2 นิ้ว
อุปกรณ์การเก็บเกี่ยว 1. เสียม สำหรับปาล์มอายุ ไม่เกิน 10 ปี
2. เคียว สำหรับปาล์มอายุ 10 ปี ขึ้นไป
ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน 1.บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์ม จำกัด มีจุดรับซื้อดังนี้ 1.1. อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี โทร.038-211688 1.2. อ.วังจันทร์ จ.ระยอง 1.3. อ.นายายอาม จ.จันทบุรี โทร.089-9366903 1.4. อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี 1.5. อ.คลองหาด จ.สระแก้ว โทร.081-8637406 1.6. อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี โทร.081-8540389 1.7. อ.หนองแค จ.สระบุรี โทร.089-9226456 1.8. อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โทร.087-1529547 2. กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น จำกัด มีจุดรับซื้อดังนี้ 2.1. อ.เขาสมิง จ.ตราด โทร.081-8650839 2.2. อ.บ่อไร่ จ.ตราด โทร.086-1134327 2.3. อ.มะขาม จ.จันทบุรี โทร.081-7232136 2.4. อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี โทร.081-8026158 2.5. อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว โทร.081-8026158 2.6. อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โทร.081-8782975 2.7. อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร โทร.081-8444420 2.8. อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โทร.083-5083873 2.9. อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี 3. โรงงานอำนาจเจริญปาล์มน้ำมัน โทร.045-465372,089-8329554มีจุดรับซื้อดังนี้ 3.1. อ.เซกา จ.บึงกาฬ 3.2. อ.นาหว้า จ.นครพนม 3.3. อ.รัตนวาปี จ.หนองคาย 3.4. อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี 3.5. อ.เอราวัณ จ.เลย
จุดรับซื้อผลผลิตปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ 1. จังหวัดพัทลุง มีจุดรับซื้อดังนี้ 1.1 อ.ตะโหมด เอ็น พี แม่ขรี 1.2 อ.ป่าบอน เจิมเพชรรุ่งเรืองกิจ 1.3 อ.ป่าบอน โรงเลื่อยห้วยทราย 1.4 อ.เขาชัยสน ปวีร์ลานปาล์ม 1.5 อ.เขาชัยสน ลานเทปวีลานปาล์ม 1.6 อ.เขาชัยสน ลานเทเลิศชาย 1.7 อ.เขาชัยสน จันทรโชติลานปาล์ม 1.8 อ.เมือง หจก.ปาล์มเทคนิค (สาขา 3) 1.9 อ.ควนขนุน บุตรบุญนิชลานเท 1.10 อ.ควนขนุน สหกรณ์ปาล์มน้ำมันพัทลุง 1.11 อ.ควนขนุน หจก.ปาล์มเทคนิค (สาขา 2) 1.12 อ.ควรขนุน ลานเทบุตรบุญนิช 1.13 อ.ควนขนุน บุตรบุญนิชลานเท 1.14 อ.ควนขนุน สหกรณ์ปาล์มน้ำมันพัทลุง 1.15 อ.ป่าพยอม ลานเทอรอนงค์ 2. จังหวัดตรัง มีจุดรับซื้อดังนี้ 2.1 อ.เมืองตรัง บริษัท ตรังสหปาล์มออยล์ จำกัด 2.2 อ.เมืองตรัง ลานเทนพรัตน์ 2 2.3 อ.ห้วยยอด สหกรณ์การเกษตรห้วยยอดจำกัด 2.4 อ.ห้วยยอด นายวิชัย แซ่ตัน 2.5 อ.ห้วยยอด ลานเทบางกุ้ง 2.6 อ.หาดสำราญ ลานเทปาล์มหาดสำราญ 2.7 อ.ย่านตาขาว ลานเทปาล์มทุ่งค่าย 2.8 อ.ปะเหลียน บริษัท ลานเทแหลมทอง จำกัด 2.9 อ.ปะเหลียน บริษัท ลานเททุ่งยาว จำกัด 2.10 อ.ปะเหลียน กลุ่มออมทรัพย์ชุมชนลิพัง 2.11 อ.ปะเหลียน สหกรณ์การเกษตรปะเหลียน จำกัด 2.12 อ.ปะเหลียน ลานเทท่าพญา 2.13 อ.ปะเหลียน นายรุ่งศักดิ์ ประกอบกิจ 2.14 อ.ปะเหลียน ลานปาล์มบ้านนาทุ่ง 2.15 อ.ปะเหลียน ลานเทสุโสะ 2.16 อ.วังวิเศษ บริษัท วังวิเศษปาล์ม จำกัด 2.17 อ.วังวิเศษ บริษัท ช.ณรงค์ปาล์ม จำกัด 2.18 อ.วังวิเศษ สหกรณ์กองทุนยางบ้านไชยภักดี จำกัด 2.19 อ.วังวิเศษ สหกรณ์การเกษตรวังวิเศษ จำกัด 2.20 อ.วังวิเศษ อ่าวตงปาล์ม 2.21 อ.วังวิเศษ โชคทรัพย์พาณิชย์ 2.22 อ.วังวิเศษ สำราญปาล์ม 2.23 อ.วังวิเศษ ลานเทปาล์มครูสวัสดิ์ 2.24 อ.กันตัง ลานเทบางสักปาล์ม 2.25 อ.สิเกา บริษัท ลานเทบางสัก จำกัด 2.26 อ.สิเกา สหกรณ์การเกษตรสิเกา จำกัด 2.27 อ.สิเกา สหกรณ์ปาล์มน้ำมันตรัง จำกัด 2.28 อ.สิเกา ลานเทนพรัตน์ 1 2.29 อ.สิเกา ลานเทเขาไม้แก้ว 2.30 อ.สิเกา ประเสริฐปาล์ม 2.31 อ.สิเกา อภิยมลานเกษตร 3. จังหวัดสงขลา มีจุดรับซื้อดังนี้ 3.1 อ.สะเดา ลานเทปาล์มโกนัย (คุณวินัย มณีรัตนสุวรรณ) 3.2 อ.เทพา คุณสมคิด กิจคอน 3.3 อ.เทพา คุณเปรม แก้วรุ่งเรือง 3.4 อ.หาดใหญ่ คุณพรชนก มีศรี 3.5 อ.ระโนด โชคเอกชัย 3.6 อ.กระแสสินธุ์ สหกรณ์การเกษตรกระแสสินธ์ 3.7 อ.รัตภูมิ KR แก้วรัตน์ ลานเท 3.8 อ.รัตภูมิ ลานเทเด่นชัย 4. จังหวัดสตูล มีจุดรับซื้อดังนี้ 4.1 อ.ควนกาหลง สหกรณ์การเกษตรควนกาหลง จำกัด 4.2 อ.ควนกาหลง สหกรณ์การเกษตรควนกาหลง จำกัด 4.3 อ.ควนกาหลง ควนกาหลงปาล์ม 4.4 อ.ควนกาหลง กลุ่มออมทรัพย์ควนกาหลง 4.5 อ.ควนกาหลง เขาไครการค้า 4.6 อ.ควนกาหลง ศุภรัตน์ลานเท 4.7 อ.ควนกาหลง ลานเทนายดลมาน ขาวเขาไคร 4.8 อ.ควนกาหลง ลานเทนายวิเชียน บัวงาม 4.9 อ.มะนัง ลานเทนายอนัน มณีรัตนสุบรรณ 4.10 อ.มะนัง ลานเทนายวินัย มณีรัตนสุบรรณ 4.11 อ.มะนัง ลานเทนายประวิทย์ เพชรรัตน์ 4.12 อ.มะนัง ลานเทนายรอเฉด มหาชัย 4.13 อ.มะนัง ลานเทนายดลเลาะห์ สามารถ 4.14 อ.มะนัง ลานเทนางฟาตีม๊ะ มหาชัย 4.15 อ.มะนัง ลานเทนางเจ๊ะฟารีดา เจ๊ะแม 4.16 อ.มะนัง ลานเทนายพิเชษฐ์ อุทัยรังสี 4.17 อ.มะนัง ทวีศักดิ์ลานเท 5. จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจุดรับซื้อดังนี้ 5.1 อ.เมือง ส.อุปการดี (หลังวัดหนองนก) 5.2 อ.เมือง รุ่งโรจน์ลานปาล์ม 5.3 อ.ปากพะนัง ลานเทต้นปาล์ม (บ้านทวดลุง) 5.4 อ.ร่อนพิบูลย์ ลานเทนางเพชรรัตน์ ทองทิพย์ปาล์ม 5.5 อ.ร่อนพิบูลย์ ลานปาล์มน้องกุ้ง 5.6 อ.ร่อนพิบูลย์ นางสมจิต จันทร์จีน (เดชาการปาล์ม) 5.7 อ.ร่อนพิบูลย์ นายอดิศักดิ์ สงคง(ป่าแชงปาล์ม) 5.8 อ.ทุ่งสง สหกรณ์นิคมทุ่งสง จำกัด (หลัง อบต.เขาขาว) 5.9 อ.ทุ่งใหญ่ นายประทีป รักษ์ศรีทอง(ศรีทองพืช) 5.10 อ.ทุ่งใหญ่ ลานปาล์มบ้านราชเวช(สหกรณ์) 5.11 อ.ทุ่งใหญ่ นายชูสิน ชุมบัวจันทร์(สินเจริญปาล์ม) 5.12 อ.ทุ่งใหญ่ นายโกสินทร์ แก้วคง(ทุ่งกรวดปาล์ม) 5.13 อ.บางขัน ลานเทนายสุวัตร กุลวิทย์ 5.14 อ.บางขัน นายสมหมาย สุดถนอม (ครูน้อยปาล์ม) 5.15 อ.บางขัน ชูศรีปาล์มทอง 5.16 อ.บางขัน ปาล์มน้ำมันธรรมชาติ บจ.(สาขาเคียมงาม) 5.17 อ.เฉลิมพระเกียรติ ลานเทเจ๊กานต์ 5.18 อ.เฉลิมพระเกียรติ นายสุภาพ สิทธิอำนวย (สองพี่น้องลานปาล์ม) 5.19 อ.เฉลิมพระเกียรติ น้องภู 5.20 อ.เฉลิมพระเกียรติ นายเจริญ ขุนบุญจันทร์ (ทรัพย์เจริญปาล์ม) 5.21 อ.เชียรใหญ่ สหกรณ์การเกษตรเชียรใหญ่ จำกัด 5.22 อ.เชียรใหญ่ นายศุภชัย เจียะรัตน์ (อีการเกษตร) 5.23 อ.ชะอวด หจก.ปาล์มเทคนิค 5.24 อ.สิชล รวมก่อกิจลานปาล์ม 5.25 อ.สิชล นายโสภณ คุระเอียด (โสภณพืชไร่) 5.26 อ.สิชล นายระยอง สงดำ (ทุ่งหัวนาปาล์ม) 5.27 อ.สิชล สามพี่น้องปาล์มทอง 5.28 อ.สิชล นายพิมล ดวงมุสิก (ร้านพงศมล) 5.29 อ.สิชล กลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอำเภอสิชล 5.30 อ.สิชล นายโสภณ คุระเอียด (โสภณพืชไร่) 5.31 อ.สิชล นายวีระทูร สมเขาใหญ่ (พงศมลปาล์ม) 5.32 อ.สิชล นายพิมล ดวงมุสิก (พงศมลลานปาล์ม) 5.33 อ.สิชล ลานสระกูดปาล์มทอง (เข้าทางข้างวัดขรัวช่วย) 5.34 อ.สิชล สี่พี่น้องปาล์ม 5.35 อ.สิชล ลานปาล์มดอนม่วง 5.36 อ.ขนอม นายสงบ ขันแข็ง (ส.การเกษตรขนอม) 5.37 อ.ขนอม นางประทินพรรณ งามโฉม (ขนอมปาล์ม) 5.38 อ.ขนอม นายสงบ ขันแข็ง (ส.การเกษตรขนอม) 5.39 อ.ขนอม สามพี่น้องปาล์มทอง 5.40 อ.หัวไทร นายฉะอ้อน ภัทราวดี
ราคาการรับซื้อผลผลิตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประกอบด้วย อาทิ ราคาตลาด ความต้องการในการใช้น้ำมัน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล คุณภาพน้ำมัน
ราคารับซื้อทะลายปาล์มสด (FFB)ของโรงงาน คิดมาจากราคาขายน้ำมันปาล์มดิบ (CPO)ของโรงงานสกัด ราคารับซื้อน้ำมันปาล์มดิบในตลาด ก็เกิดจากปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในตลาดตามกลไลการตลาด
ซึ่งมีการรวบรวมเป็นตัวเลขสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบของไทย ซึ่งปริมาณน้ำมันปาล์มดิบในประเทศจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตทะลายปาล์มที่เกิดขึ้นกับปริมาณการใช้น้ำมันปาล์มดิบที่มีความสมดุลกันมากแค่ไหน
ปริมาณการใช้ก็เกิดจากความต้องการใช้ปกติ และมาตรการดำเนินการเสริมของภาครัฐ และราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลก(มาเลเซีย)ในส่วนของการส่งออกและนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบ
ราคาทะลายปาล์มสด= ( ราคาCPO - ต้นทุนการสกัด) x เปอร์เซ็นต์น้ำมัน
*ราคา CPO =ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์%น้ำมัน =ปัจจุบันกำหนดที่18%
*ต้นทุนสกัด= ปัจจุบันกำหนดที่1.5 บาท/กก.
ราคารับซื้อผลผลิตปาล์มวันนี้ จ.ชุมพร
ราคารับซื้อผลผลิตปาล์มย้อนหลัง
การใช้ปุ๋ยในปาล์มน้ำมันควรใช้ปุ๋ยเคมีควบคู่กับปุ๋ยอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอสำหรับปาล์มน้ำมัน เนื่องจากในปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารในปริมาณที่น้อย แต่ปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ส่วนปุ๋ยเคมีมีปริมาณธาตุอาหารมากแต่จะทำให้โครงสร้างดินเสีย ซึ่งจะมีปัญหากับดินในอนาคต สำหรับปุ๋ยเคมีที่ใช้กับปาล์มน้ำมันควรใช้ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเดี่ยวสามารถปรับปริมาณการใส่ของแต่ละธาตุอาหารได้ตามความต้องการของปาล์มน้ำมัน ซึ่งพื้นที่ปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีปริมาณธาตุอาหารในดินไม่เท่ากัน เกษตรกรที่มีสวนปาล์มน้ำมันจำนวนมาก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเดี่ยว นำมาผสมและแบ่งใส่ด้วยตนเอง เพราะต้นทุนปุ๋ยจะถูกกว่า ส่วนเกษตรกรรายย่อยที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเดี่ยวสลับหรือร่วมกับปุ๋ยสูตร ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับอายุของปาล์มน้ำมัน และความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใส่ปุ๋ย ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการปุ๋ยของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อม ลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยและอัตราการใช้ ซึ่งทางโครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ร่วมกับ บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด ขอแนะนำตารางการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันดังนี้
ตารางแม่ปุ๋ย
ตารางปุ๋ยสูตร
*เลือกใช้เพียงแบบใดแบบนึง*
ดังนั้นการใช้ปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมันจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพราะหากมีการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยกว่าความต้องการของปาล์มน้ำมันก็จะทำให้ผลผลิตลดลง ในทางตรงกันข้ามหากมีการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลือง เพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิต นอกจากปริมาณของปุ๋ยที่เหมาะสมแล้ว ความเหมาะสมของสัดส่วนปุ๋ยแต่ละชนิดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน การใช้ปุ๋ยเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะทำให้สัดส่วนความต้องการปุ๋ยมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้เช่นเดียวกัน และการจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการเพิ่มผลผลิต เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเกษตรกรคือกำไรสูงสุดอย่างแน่นอน
อาการผิดปกติจากพันธุกรรม
1.ทางใบย่อยไม่คลี่ (Juvenile seedling)
ใบย่อยไม่คลี่ออกหรือคลี่ออกบางส่วน ซึ่งส่วนมากอาการของใบไม่คลี่จะคล้ายกับปาล์มเป็นหมัน (sterile palm) ซึ่งต้นกล้าชนิดนี้จะให้ผลผลิตต่ำมาก (1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เมื่ออายุ 3 -5 ปี)
ในขณะที่ต้นปาล์มปกติให้ผลผลิต เฉลี่ย 72.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี
2.ใบย่อยห่าง (Wide internode)
ระยะระหว่างใบย่อยบนทางใบแบบขนนกจะห่างกัน มากกว่าปกติ ทำให้มีลักษณะทางต้นโปร่งกว่าปกติ
3.ต้นสูงฉลูดหรือต้นเป็นหมัน (Upright or sterile seedling)
ต้นปาล์มน้ำมันมีลักษณะทาง ใบที่ทำมุมแคบมากทางใบตั้งตรง และมองดูแข็งส่วนมาก ทางใบด้านล่างทำมุมกว้างมากกับต้นและต้นสูงชะลูด
เมื่อนำต้นกล้าชนิดนี้ไปปลูกในแปลงจะให้ผลผลิตต่ำมากจนถึงไม่ให้ผลผลิต
4.ใบย่อยแน่นทึบ(Short internode)
โดยใบย่อยจะอยู่ชิดแน่น และส่วนมากแผ่นของใบย่อยจะกว้างกว่าปกติ ท้าให้มองเป็นทางใบมีใบย่อยแน่นทึบ
เมื่อนำไปปลูกในแปลงทำให้ผลผลิตลดลงถึง 73 %
5. ต้นเล็กแคระแกร็น (Runts)
ลักษณะของต้นมีการเจริญเติบโตและพัฒนาช้ากว่าปกติ ซึ่งทำให้ต้นมีขนาดเล็ก
และแคระแกร็น เมื่อนำต้นกล้าชนิดนี้ไปปลูกในแปลงจะให้ผลผลิตเพียง 1.55 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี เมื่อมีอายุ 3 -5 ปี
6. ทางใบตก และต้นอ่อนแอ (Limp form)
ทางใบของต้นกล้าชนิดนี้จะอ่อนแอ และทางใบลู่ลงหรือทางใบตก ซึ่งทำให้สังเกตเห็นลักษณะ ต้นกล้าเป็นแบบ Flat top สำหรับระยะเวลาของการแสดงอาการนี้จะค่อนข้างสั้น
เมื่อนำต้นกล้าชนิดนี้ไปปลูกผลผลิตจะลดลง จากต้นกล้าปกติ 40 %
7. ใบด่าง (Chimera)
แสดงอาการใบขาวซีด ซึ่งเป็นอาการของการไม่มีคลอโรฟิลล์ ซึ่งอาการใบขาวซีดนี้ เกิดจากพันธุกรรมของปาล์มน้ำมัน
ส่วนใหญ่จะแสดงอาการก่อนต้นกล้าอายุ 4 เดือน
8. ใบย่อยแคบ (Narrow pinnae)
ต้นกล้ามีใบย่อยเรียวแคบ ใบสีเขียวซีดกว่าต้นปกติและ ทางใบค่อนข้างทำมุมแคบกับต้น
เมื่อนำไปปลูกในแปลงจะให้ผลผลิตต่ำมาก 9 กิโลกรัม/ต้น/ปี
9. ใบเกิดใหม่สั้น (Flat top seedling)
ลักษณะของต้นในด้านความสูงมอง ด้านบนค่อนข้างเป็นเส้นตรง ซึ่งเกิดจากใบที่เกิดใหม่สั้นกว่าใบเก่า
ดังนั้นส่วนยอดของต้นจะไม่ยืดยาวออกมาทำให้มองเห็นด้านบนเท่ากัน
10. ใบกึ่งกลางขอด (Collante)
ต้นกล้าแสดงอาการผิดปกติ เกิดจากการขาดน้ำหรือมีสารเคมีผสมในดินปลูกต้นกล้า
ซึ่งถ้ามีการดูแลรักษาที่เหมาะสมใบที่เกิดใหม่จะเป็นปกติ แต่ถ้ายังมีอาการอยู่จะต้องคัดต้นกล้าทิ้ง
11.ทางใบล่างแห้ง
เป็นอาการผิดปกติทางพันธุกรรม หมั่นสำรวจหากให้ผลผลิตให้เก็บไว้ หรือหากให้ผลผลิตน้อยแนะนำให้ขุดออกเพื่อปลูกใหม่
11. ทางใบบิด
เป็นอาการผิดปกติทางพันธุกรรม หากเป็นไม่มากจะค่อยๆดีขึ้นในอายุ3ปีขึ้นไป หากพบอาการหนักอาจทำให้ต้นเสียหายและหยุดการเติบโตได้
ปัญหาดินเปรี้ยวและดินเค็ม
ดินเปรี้ยว หรือดินกรดกำมะถัน (acid sulfate soils) เป็นดินที่มีแร่ไพไรต์ (pyrite) ที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชันจะทำให้เกิดกรดกำมะถันสะสมอยู่มากในชั้นดิน ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดจัดมาก
โดยทั่วไปดินมี ph ต่ำกว่า4 เป็นดินที่มีปัญหาทางการเกษตร สภาพกรดจัด ส่งผลต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช
ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อละเอียด ดินชั้นบนเป็นดินเหนียวถึงเหนียวจัด มีสีเทาหรือสีเทาเข้มถึงสีดำ ดินชั้นล่างมีสีเทาอ่อน
ในตอนบนของดินชั้นล่างมีจุดประสีต่าง ๆ ส่วนชั้นดินล่างที่ถัดลงไปจะเป็น โคลนเละ/หรือดินเหนียวเละ สีเทาปนน้้าเงินคล้ายโคลนก้นทะเล หรือสีเทาเข้ม และดินอาจเป็นกลางหรือเป็นด่างอ่อน
การแก้ไข:
ปุ๋ยอินทรีย์ มีปริมาณธาตุอาหารอยู่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของสารประกอบอินทรีย์
ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออกมา
หากใช้ปุ๋ยอินทรีย์อย่างเดียว ปาล์มอาจเกิดอาการขาดธาตุอาหาร (ยกเว้นดินเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก)
ซึ่งต้องใช้ปริมาณมาก ในการใส่ต่อต้นต่อปี การใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีถึงจะให้ประสิทธิภาพต่อต้นสูงสุด
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.) ปุ๋ยหมัก ได้จากการนำชิ้นส่วนของพืช วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือจากโรงงานอุตสาหกรรม
เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ซังข้าวโพด กากอ้อยจากโรงงานน้ำตาล แกลบจากโรงสีข้าว
หรือขี้เลื่อยจากโรงงานแปรรูปไม้ เป็นต้น นำมาหมักโดยการกองซ้อนกันบนพื้นดินหรืออยู่ในหลุม
เพื่อให้ผ่านกระบวนการย่อยสลายจนเน่าเปื่อยเสียก่อน จนกระทั่งได้สารอินทรียวัตถุที่มีความคงทน
ไม่มีกลิ่นเหม็น มีสีน้ำตาลปนดำ
2.) ปุ๋ยคอก ได้จากสิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ และห่าน ฯลฯ โดยอาจจะใช้ในรูปปุ๋ยคอกแบบสด แบบแห้ง
หรือ นำไปหมักให้ย่อยสลายก่อน แล้วจึงนำไปใช้ก็ได้ ซึ่งต้องคำนึงถึงชนิดของดินและพืชที่ปลูกด้วย
โดยเฉพาะการใช้แบบสดอาจทำให้เกิดความร้อน และมีการดึงธาตุอาหารบางตัวไปใช้ในการย่อยสลายมูลสัตว์
ซึ่งอาจจะทำให้พืชเหี่ยวตายได้
3.) ปุ๋ยพืชสด ได้จากการไถกลบพืชในระยะเริ่มออกดอก ที่ยังเจริญเติบโต และยังสดอยู่ลงดิน ก่อนที่จะมีการปลูกพืชหลัก
พืชที่นิยมใช้ คือ พืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง โสนชนิดต่างๆ ถั่วพร้า และถั่วมะแฮะ เป็นต้น เพราะพืชเหล่านี้
สามารถในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ จึงช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่พืชหลักได้
ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรียืในปาล์มน้ำมัน
1.) ช่วยเพิ่มธาตุอาหารพืชในดิน
สามารถอยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารอย่างช้าๆ ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อการบำรุงดิน สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.ช่วยให้ดินโปร่งและร่วนซุย
ใช้ปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและโครงสร้างของดิน ทำให้ดินมีความโปร่งและร่วนซุย
ระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ดี เตรียมดินได้ง่าย รากพืชจึงชอนไชไปหาธาตุอาหารได้ง่ายขึ้น
3.)ช่วยอุ้มน้ำและธาตุอาหาร
ช่วยทำให้ดินมีคุณสมบัติที่ดีในเรื่องการเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำและธาตุอาหารพืชได้ดี
วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตั้งแต่เริ่มปลูกปาล์ม เพราะการเตรียมดินต้องเปิดหน้าดิน ทำให้อินทรียวัตถุในดินถูกชะล้างหายไป สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 3-5 กก./ต้น/ปี และเมื่อปาล์มโตขึ้นก็เพิ่มปริมาณไปจนถึง 25 กก./ต้น/ปี ใส่ครั้งเดียว หรือแบ่งใส่สองครั้ง ตามปริมาณที่หาได้ในปีนั้นๆ การใส่ ให้หว่านรอบโค่นต้น (ในทรงพุ่ม) ห่างจากต้นปาล์มเล็กน้อย หรือเมื่อมีกองทางใบสามารถหว่านให้ทั่วบริเวณกองทางใบนั้น
1.)ตรวจสอบคุณภาพดิน
เมื่อเกษตรกรปลูกปาล์มแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือ เก็บตัวอย่างดินเพื่อส่งวิเคราะห์และนำข้อมูลมาประยุกต์ปรับใช้ในการใช้ปุ๋ยให้ที่เหมาะสม
นอกจากการเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังเป็นการลดต้นทุนในการใช้ปุ๋ยอีกด้วย
สถานที่ส่งวิเคราะห์ดินและทางใบ -ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -ศูนย์ปฎิบัติการวิเคราะห์กลาง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ -บริษัท ไอออนิค จำกัด -บริษัท อีโค อะโกร จำกัด
2.ใส่ปุ๋ยตามสูตร และหม่นสังเกตอาการผิดปกติร่วมด้วย
การใส่ปุ๋ยสูตร *เลือกใช้เพียงสูตรใดสูตรนึง
3.กำจัดวัชพืชก่อนก่อนปุ๋ย ก่อนการใส่ปุ๋ยทุกครั้งเกษตรกรควรกำจัดวัชพืชก่อนเพื่อให้ปุ๋ยส่งไปยังต้นปาล์มได้ดี ทั้งนี้เกษตรควรใส่ปุ๋ยโดยหว่านบริเวณรอบๆโคนต้นปาล์ม
4.ใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชื้นทุกครั้ง หรือสามารถแบ่งได้ เช่น ต้นฝน กลางฝนและปลายฝน
5.ไม่ควรหยุดใส่ปุ๋ยปาล์ม หากเกิดช่วงที่ปาล์มน้ำมันราคาตกต่ำ”ไม่ควรหยุดใส่ปุ๋ย” แต่ควรจะใส่ในอัตราที่น้อยลงกว่าปกติ เพื่อการรักษาระดับของธาตุอาหารในต้นเอาไว้ เพราะปาล์มน้ำมันจะมีช่วงการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย ประมาณ 15 เดือน กว่าจะเห็นผลจากการใส่ปุ๋ยครั้งนั้น
ความเชื่อและที่มาของการสุมไฟ
ความเชื่อนี้เริ่มจากการสุมควันไฟในไม้ผล เพื่อเป็นการเพิ่มคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
ทำให้การสังเคราะห์แสงมีวัตถุดิบในการสร้างอาหารสะสมในต้นได้มากขึ้น
นอกจากนี้ยังอาจจะมีก๊าซ อย่างเช่น อะเซติลีน ที่ช่วยกระตุ้นพืชให้สร้างฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการออกช่อดอกได้
วิธีการนี้ใช้ได้ผลดีกับพืชหลายชนิด เช่น เงาะ/ลำไย/มะม่วง/มะปราง/ทุเรียน เป็นต้น
การเผาส่งผลอะไรกับต้นปาล์ม
การเผาคือ การสร้างภาวะเครียด จนพืชเกือบตาย เกิดปฏิกิริยาเอาตัวรอด
ทำให้การออกดอก ติดผล เพื่อการสืบพันธุ์ และขยายพันธุ์ต่อไป
ข้อเสนอแนะ
วิธีสังเกตการออกช่อดอก
เมื่อเกษตรกรปลูกปาล์มแล้ว ต้องเก็บข้อมูลต้นปาล์มแต่ละต้น โดยสังเกตการการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามอายุ เมื่อปาล์มอายุประมาณ 18-22 เดือน จะออกช่อดอก ให้สังเกตประเภทช่อดอก ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน
หากพบต้นที่ออกแต่ช่อตัวผู้ ให้เลือกทำลายทิ้ง
**ยกเว้นแต่ต้องการเกสรตัวผู้ ต้นที่ออกทะลายปกติ เป็นไปตามรอบการเจริญเติบโต ก็ต้องสังเกตุทะลายที่ได้ ดังนี้
* แต่หากต้นนั้นให้ทะลายไม่ดี ในหลักการควรคัดทิ้งทำลาย *ปาล์มที่มีลักษณะผิดปกติ ก็ต้องคัดทิ้งทำลาย เพราะจะให้ผลผลิตไม่คุ้มค่าใช้จ่าย หากตรวจพบเร็ว ก็สามารถปลูกทดแทนได้
แต่หากปาล์มเริ่มให้ทะลายแล้ว ก็ไม่ต้องปลูกทดแทน เพราะต้นเล็กจะโตไม่ทันต้นใหญ่
ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 ได้ให้คําจํากัด ความของปุ๋ยไว้ว่า “ปุ๋ย” หมายถึง สารอินทรีย์ หรือสารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ สําหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชหรือทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบํารุง ความเติบโตแก่พืช ปุ๋ยโดยทั่วไปสามารถจําแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยเคมี หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้จากสารอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยวปุ๋ยเชิงผสม ปุ๋ยเชิงประกอบ และปุ๋ยอินทรีย์เคมี แต่ไม่รวมถึงปูนขาว ดินมาร์ล ปูนปลาสเตอร์ ยิปซัม โดโลไมต์ หรือสารอื่นที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปุ๋ยอินทรีย์ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้หรือทํามาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทําให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หมายความว่า ปุ๋ยที่ได้มาจากการนําจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช มาใช้ในการปรับปรุงบํารุงดินทางชีวภาพทางกายภาพหรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึงหัวเชื้อจุลินทรีย์
ในอดีตไม่ค่อยมีการใช้ปุ๋ย เนื่องจากดินของเรายังมีความอุดมสมบูรณ์สูง และเมื่อพบว่าดินเริ่มจะเสื่อม ผลผลิตลดลง ก็จะย้ายที่เพาะปลูกใหม่ โดยการเปิดป่าใหม่ เปิดพื้นที่ใหม่ ทำเช่นนี้ติดต่อกันมา จนไม่สามารถเปิดพื้นที่เพาะปลูกใหม่ได้อีกแล้ว และเกษตรกรจะรู้จักเพียงการใช้ปุ๋ยคอก เช่น มูลเป็ด มูลไก่ มูลวัว การเพาะปลูกพืชจึงถูกจำกัดอยู่กับการปลูกพืชซ้ำที่เดิม ดินก็เริ่มเสื่อมโทรม โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์หรือปริมาณธาตุอาหารพืชในดินหมดไป ผลผลิตพืชจึงลดลง จึงเริ่มมีการใช้ปุ๋ยเคมีปรับปรุงบำรุงดิน
ปุ๋ยเชิงเดี่ยว (straight fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ธาตุอาหารหลักธาตุเดียวได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต และปุ๋ยโพแทสเซียม
ปุ๋ยเชิงประกอบ (compound fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ทำขึ้นด้วยกรรมิธีทางเคมีและมีธาตุอาหารหลักอย่างน้อย 2 ธาตุ
ปุ๋ยเชิงผสม (mixed fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารหลักอย่างน้อย 2 ธาตุขึ้นไป ที่ได้จากการผสมปุ๋ยประเภทต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้ธาตุอาหารตามที่ต้องการ ไม่ว่าการผสมนั้นจะเข้าเป็นเนื้อเดียวกันหรือไม่ก็ตาม แบ่งเป็น 2 แบบ ปุ๋ยแบบปั้นเม็ด (granulated fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผลิต โดยนำวัตถุดิบมาผ่านกระบวนการทำให้เป็นเม็ด ปุ๋ยแบบเม็ดผสม (bulk-blending fertilizer) หมายถึง ปุ๋ยเคมีที่ได้จากการผลิต โดยนำวัตถุดิบที่เป็นเม็ดมาผสมให้เข้ากัน
ปุ๋ยแต่ละชนิดยังแบ่งออกตามลักษณะเป็นอีก 3 ชนิด
ปุ๋ยชนิดเกร็ด
ปุ๋ยชนิดผง
ปุ๋ยชนิดเม็ด
ใช้ปุ๋ยยังไงให้ได้ผลดีที่สุด การใส่ปุ๋ยลงไปในดิน เพื่อให้พืชสามารถดึงดูดไปใช้ได้มากที่สุดและสูญ เสียน้อยที่สุด จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปุ๋ย ชนิดเดียวกัน สูตรเดียวกันใส่ลงไปในดินโดยวิธี แตกต่างกัน พืชจะใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่เท่ากัน อาทิ ปุ๋ยที่ใส่แบบหว่านจะให้ผลแตกต่างจากปุ๋ยที่ ใส่โรยแบบเป็นแถวหรือเป็นจุดใกล้ต้นพืช ฉะนั้น การใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพจึงควรมีหลักเกณฑ์ ในการใส่ปุ๋ยที่ควรจะยึดถือเป็นแนวทางดังนี้คือ
ชนิดของปุ๋ยที่ใช้ถูกต้อง สูตรปุ๋ย หรือบางทีเรียกว่า "เกรด ปุ๋ย" หมายถึง ตัวเลขเขียนบอกปริมาณธาตุอาหาร ที่มีอยู่ในปุ๋ยเคมี โดยบอกเป็นค่า เช่น 20-10-5 ตัวแรกจะบอกปริมาณ ไนโตรเจน ตัวกลางจะบอกปริมาณ ฟอสฟอรัส ตัวสุดท้ายบอกปริมาณ โพแทสเซียม สำหรับสัดส่วน ของปุ๋ยนั้น ยกตัวอย่างเช่น 16-16-8 เท่ากับอัตราส่วน 2:2:1 ได้จากการหารด้วย 8 20-10-5 เท่ากับอัตราส่วน 4:2:1 ได้จากการหารด้วย 5 ก่อนใช้ปุ๋ยก็จะต้องรู้จักดิน และรู้จักพืชที่ปลูกเสียก่อน เนื่องจากดินแต่ละแห่ง แต่ละชนิด จะมีระดับธาตุอาหารปุ๋ยในดินแตกต่างกัน -พืชที่ปลูกต่างชนิดกัน หรือแม้แต่อายุพืชแตกต่างกัน ก็มีความต้องการธาตุอาหาร N P K ในปริมาณที่แตกต่างกัน
ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม หมายถึง จำนวน หรืออัตราปุ๋ย ที่ใช้ต่อไร่ หรือต่อต้น ที่พืชจะได้รับความพอเหมาะนี้มีอยู่ 2 ลักษณะคือ พอเหมาะในปริมาณที่พืชควรจะได้รับ เพื่อให้ได้ผลิตผลสูงสุด ถ้าน้อยเกินไป จะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต และให้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร หรือถ้าให้มากเกินอาจจะเป็นพิษแก่พืชหรือจะไม่ทำให้พืชเติบโต หรือให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แต่ทำให้เสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ พอเหมาะในหลักเศรษฐกิจ คือ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับราคาของปุ๋ย และราคาของผลผลิต คือ การใช้ปุ๋ยที่พอเหมาะ ซึ่งจะมีผลทำให้ผลิตผลสูงขึ้นในระดับหนึ่ง (แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นผลิตผลสูงสุด) จะทำให้ได้กำไรต่อเงินลงทุนในการซื้อปุ๋ยมาใช้มากที่สุด การพิจารณาความพอเหมาะพอดีของจำนวนปุ๋ย หรืออัตราปุ๋ยที่จะใช้ จะต้องอาศัยหลักเกณฑ์ และวิธีการต่างๆ หลายประการมาประกอบการพิจารณา อาทิ ชนิดของพืช ระดับความชื้น และความอุดมสมบูรณ์เดิมของดิน วิธีการปลูก การดูแล และการบำรุงรักษาของกสิกร ตลอดจนราคาของปุ๋ย และของพืชที่ปลูกประกอบด้วย
ใส่ปุ๋ยให้พืชขณะที่พืชต้องการ คือ พืชที่ปลูกในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ด้วยธาตุอาหาร การใส่ปุ๋ย จะช่วยทำให้พืชได้รับธาตุอาหารเพียงพอกับความต้องการของพืช แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินเดียวกัน กับพืชชนิดเดียวกัน ก็อาจให้ผลแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาของการให้ว่าตรงกับความต้องการธาตุอาหารนั้นๆหรือไม่ ช่วงจังหวะความต้องการธาตุอาหารมากที่สุดของพืช แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ระยะที่พืชต้องการธาตุอาหารจากดินมากที่สุด และดึงดูดธาตุอาหารได้รวดเร็วมากที่สุดก็คือ ช่วงที่สอง เพราะเป็นระยะที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และต้องการสะสมธาตุอาหารไว้ในต้นและใบ ให้เพียงพอสำหรับการสร้างเมล็ดและผล ที่จะมีขึ้นในช่วงที่สาม ดังนั้นการให้ปุ๋ยแก่พืชระยะที่สำคัญก็คือ ระยะที่สองนี้ ซึ่งพืชควรจะได้รับธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ให้เพียงพอที่สุด
ใส่ปุ๋ยให้พืชตรงจุดที่พืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายและเร็วที่สุด จึงต้องแบ่งใส่ ให้พอเหมาะกับระยะที่พืชต้องการ จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการใส่ เพื่อให้พืชดึงดูดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากในทันทีทันใดที่ปุ๋ยลงไปอยู่ในดิน ปฏิกิริยาการเปลียของปุ๋ยจะเกิดขึ้นทันที เช่น ไนโตรเจน จะเคลื่อนที่ได้เร็ว เพราะละลายน้ำได้ง่าย มักถูกน้ำพัดพาออกไปจากชั้นของดิน ถ้ารากพืชดึงดูดเอาไว้ไม่ทัน ก็จะสูญเสียไปหมด และไม่เกิดประโยชน์ต่อพืชแต่อย่างใด ปกติแล้วจะสูญเสียไป โดยการชะล้างประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนที่ใส่ลงไป การใส่บนผิวดินก็สามารถซึมลงมายังบริเวณรากที่อยู่ใต้ผิวดินได้ง่าย ฟอสฟอรัส ถึงแม้จะละลายน้ำได้ง่าย แต่เมื่ออยู่ในดิน จะทำปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วกับแร่ธาตุต่างๆในดิน กลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยาก และทำให้ความเป็นประโยชน์ต่อพืชลดลง และไม่เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนั้นเมื่อใส่ตรงจุดไหน ก็มักจะเคลื่อนย้ายจากจุดเดิมเป็นระยะใกล้ๆ ในรัศมี 1 - 5 ซม. เท่านั้น ดังนั้นการใส่ จึงต้องให้อยู่ใกล้กับรากมากที่สุด และการใส่บนผิวดิน จะเป็นประโยชน์น้อยกว่าใส่ใต้ผิวดิน โพแทสเซียม จะเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่าฟอสเฟต แต่จะช้ากว่าไนโตรเจน โพแทสเซียมละลายน้ำได้ง่ายพอๆ กับไนโตรเจนก็จริง แต่เนื่องจากมีประจุบวก ซึ่งดูดยึดอยู่ที่ผิวของอนุภาคดินเหนียวได้ จึงถูกชะล้างได้ยาก แต่ก็ยังเป็นประโยชน์ได้ง่ายแก่พืชอยู่ ดังนั้นการใส่โพแทสเซียม จึงสามารถใส่บนผิวดิน หรือใต้ผิวดินก็ได้ แต่การเคลื่อนย้ายจะช้ากว่าไนโตรเจน และในเวลาเดียวกันการสูญเสียโดยการชะล้างก็ จะน้อยกว่าด้วย