การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

การฟื้นฟูสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม

29 พฤษภาคม 2561

ในช่วงฤดูฝนอาจเกิดน้ำท่วมในสวนปาล์มได้ บริษัท อาร์ดี เกษตรพัฒนา จำกัด จึงได้มีวิธีการดูแลสวนปาล์มมาแนะนำ ดังนี้


 

         สำหรับปาล์มน้ำมันที่ถูกน้ำท่วมขัง ความเสียหายที่ได้รับอาจเกิดจากหลายปัจจัย คือ อายุของต้นปาล์มน้ำมัน

คุณภาพของน้ำที่ท่วมขัง และระดับของน้ำที่ท่วมขัง ดังนี้
1. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1 – 3 ปี เมื่อถูกน้ำท่วมขัง

2. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปที่ถูกน้ำท่วมขัง

          ปกติปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 3 ปี ระดับน้ำที่ท่วมขังส่วนใหญ่จะไม่ท่วมถึงระดับยอดปาล์มน้ำมัน หรือท่วมถึงยอดปาล์มน้ำมันในระยะเวลาไม่นานนัก จากนั้นจะท่วมขังในระดับผิวดิน หรือโคนต้นปาล์มน้ำมัน ผลกระทบที่เกิด ขึ้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้นปาล์มน้ำมันถูกน้ำท่วมขัง

• น้ำท่วมขัง 0 - 15 วัน ต้นปาล์มน้ำมันสามารถฟื้นฟูตัวเองได้

• น้ำท่วมขัง 15 - 30 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังจากน้ำลดแล้ว 30 วัน ทะลายที่ถูกน้ำท่วม จะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะต่อไป

• น้ำท่วมขัง 30 - 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะเริ่มแสดงอาการใบเหลือง เนื่องจากการขาดธาตุอาหาร รากปาล์มน้ำมันบางส่วนเสียหาย ทะลายที่ถูกน้ำท่วมจะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำจะเริ่มฝ่อ และเน่าก่อนที่จะสุกเก็บเกี่ยวได้ ต้นปาล์มน้ำมันต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาว เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป

• น้ำท่วมขังมากกว่า 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ต้นปาล์มน้ำมันผลิใบใหม่ได้น้อยมาก หรือไม่ผลิใบเพิ่ม ใบปาล์มน้ำ มันจะเหลือง ใบล่างจะแห้ง ยอดเรียวลง เนื่องจากระบบรากถูกทำลายต้นปาล์มน้ำมันไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นได้ ผลผลิตทะลายจะเสียหายเกือบทั้งหมด ต้องระบายน้ำที่ท่วมขังออกก่อน แล้วจึงฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาวเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป

3. วิธีการฟื้นฟูสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม



3.5 หลังน้ำลดและดินเริ่มแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 หลังจากโรยปูนขาวประมาณ 7-15 วัน เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม

3.6 เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21

3.7 ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่าเกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่นหรือส่วนอื่นๆได้

3.8 ภายหลังจากน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไทแรม หรือ คาร์บอกซิล ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรตัดยอดปาล์มน้ำมัน หรือส่วนที่เน่าออกก่อน แล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม


    
            หากสวนปาล์มของท่านได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมดังที่ได้กล่าวมา ขอให้ท่านได้ปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ แล้วสวนปาล์มของท่านจะฟื้นกลับมาและให้ผลผลิตกับท่านอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ : ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร

บทความล่าสุด
November 01, 2024
ศัตรูปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ
August 08, 2019
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากหนู
อ่านต่อ
July 06, 2018
นิเวศวิทยาของปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ

ผลิตภัณฑ์ของเรา

คัดเลือกหาล์มน้ำมันหลายสายพันธุ์ดีที่สุดจาดทั่วโลกเพื่อเกษตรกรของเรา
ดูรายละเอียด
Indrajitu Slot Indrajitu Slot Gacor indrajitu sateslot ayambet slot gacor hari ini acong88 ayambet sate slot indrajitu megaforwin nasgorbet Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Sateslot https://103.123.158.92/vvip/ Ayambet Indrajitu Megaforwin Sateslot Bimatoto Plnslot Buditogel Nasgorbet Acong88 Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Plnslot Sateslot Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Sateslot gacor slot terpercaya sibela Indrajitu Indrajitu