การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

โรคปาล์มน้ำมัน

1 มิถุนายน 2561

โรคทางใบบิด

สาเหตุ : ส่วนมากพบในปาล์มน้ำมันอายุ 1-3 ปี

วิธีแก้ไข : ตัดทางใบที่เป็นโรคออก โดยตัดให้ต่ำกว่าส่วนของเนื้อเยื่อที่เน่า ฉีดพ่นด้วยแคปแทน 0.2% หรือไทอะเบ็นดาโซล 0.1% และสารฆ่าแมลง Trichlorphon

 

 

โรคยอดพับ

สาเหตุ :   1. การถูกยาฉีดหญ้าชนิดดูดซึม

           2. มีหนอน แมลงไปกัดบริเวณโคนยอด

           3. ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณสูงเกินไป

 วิธีแก้ไข :  ใช้กรรไกรตัดโคนยอดที่หักทิ้ง พ่นยาฆ่าแมลง หนอน และยาฆ่าเชื้อรา

โรคยอดพับ.jpg

 

 

โรคใบจุด

สาเหตุ :   เชื้อรา Drechslera Halodes

วิธิแก้ไข : พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ไทแรม หรือ แคปแทน ทั้งบนใบและใต้ใบ

 

โรคยอดเน่า

สาเหตุ :  เชื้อราฟิวซาเรียม และเชื้อแบคทีเรียพวกเออร์วีเนีย

วิธีแก้ไข :  1. ดูแลโคนต้น อย่าให้มีวัชพืชปกคลุม

            2. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วราดกรวยยอดของต้นที่เป็นโรคด้วยไทแรม อัตรา 130 กรัม / น้ำ 20 ลิตร หรือ สารแมนโคเซ็บ อัตรา 120 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบทุกๆ 5-7 วัน

 

โรคใบจุดสาหร่าย

สาเหตุ  :  เชื้อรา Cephaleuros Virescence Kunze

วิธีแก้ไข : ตัดแต่งทางล่างๆ ที่แสดงอาการของโรคออกนั้น จะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไม่ให้ลุกลามได้

โรคใบจุดสาหร่าย.jpg

 

โรคใบไหม้

สาเหตุ  :   เชื้อรา Curvularia Eragrostidis

วิธีแก้ไข : พ่นด้วยสารป้องกันโรคพืชที่ไม่มีสารทองแดง เป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม 75% WP อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน ในช่วงที่มีการระบาด

โรคใบไหม้.jpg

 

โรคลำต้นเน่า

สาเหตุ : เชื้อเห็ด Ganoderma Boninense

วิธีแก้ไข : 1. การเขตกรรม

- ขุดหลุมรอบต้นปาล์มที่เป็นโรค เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

- เก็บดอกเห็ดที่ขึ้นบนโคนต้นที่เป็นโรค หรือที่รากบริเวณผิวดินทิ้งทำลาย

- การปล่อยน้ำขังท่วมแปลง การทำให้ธาตุอาหารไม่สมดุล เกิดการขาดสารอาหาร

2. ผ่าเอาส่วนที่เป็นโรคออก โดยใช้เลื่อยตัดทิ้งส่วนที่อยู่เหนือดิน และส่วนที่อยู่ใต้ดิน แล้วทาด้วย Coal Tar

3. การใช้เชื่อราปฏิปักษ์ร่วมกับเชื้อราที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อควบคุมและทำลายเชื้อ

4. การใช้สารเคมี ต้องมีการรักษาอย่างทันที โดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม ไม่เฉพาะกับต้นที่เป็นโรคเท่านั้น ต้องใช้กับต้นข้างเคียงหรือต้นที่เริ่มแสดงอาการด้วย

 

โรคลำต้นส่วนบนเน่า

สาเหตุ :  เชื้อรา Phellinus Noxius

วิธีแก้ไข : 1. ตัดแต่งทางใบแก้ให้เหลือตอสั้นที่สุด               

2. ตัดส่วนที่เป็นโรคออกในระยะแรกก่อนการสร้างดอกเห็ด แล้วพ่นด้วยสาร Tridemorph (1% Calixin)               

3. ตรวจสอบต้นที่เป็นโรค โดยใช้ไม้เคาะลำต้นเพื่อฟังเสียง                                 

4. ขุดต้นที่เป็นโรคหักล้มออกให้หมด

ลำต้นส่วนบนเน่า.jpg

 

โรคเชื้อรา

สาเหตุ : เกิดจากพื้นที่ที่เคยเป็นป่า หรือพื้นที่ที่เคยปลูกยางพารามาก่อน แล้วปล่อยตอไว้จนปกคลุมด้วยเส้นใยเชื้อรา

วิธีแก้ไข : เชื้อราจะสร้างดอกเห็ดที่ทางใบ และก้านใบล่างๆ แต่จะไม่ได้ทำอันตรายกับต้นปาล์ม จึงไม่จำเป็นต้องกำจัด

 

โรคผลร่วง

สาเหตุ

1. โรค Dry Basal Rot ทะลายแสดงอาการเน่าแห้ง

2. การเข้าทำลายของไส้เดือนฝอย Rhadinaphelenchus Cocophilus

3.การผสมเกสรที่ไม่สมบูรณ์

4.การขาดธาตุอาหารของปาล์มน้ำมันช่วงที่ให้ผลผลิตสูง

วิธีแก้ไข

 1. ทำลายส่วนที่แสดงอาการออกให้หมด

 2. ให้ปุ๋ยและน้ำแก่ปาล์มในช่วงที่มีผลผลิตสูง

โรคผลร่วง.jpg

 

 

โรคทะลายเน่า

สาเหตุ : เชื้อรา (Marasmius sp.)

ลักษณะอาการ :  ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำ 
มีลักษณะนุ่ม ถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้น มากเชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลายเปล่า หรือทะลายที่เน่า

วิธีแก้ไข : กำจัดทะลายที่แสดงอาการออกให้หมด รวมทั้งช่อดอกตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ตัดส่วนที่เป็นโรคแล้ว ฉีดพ่นด้วยสารเคมี

บทความล่าสุด
November 01, 2024
ศัตรูปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ
August 08, 2019
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากหนู
อ่านต่อ
July 06, 2018
นิเวศวิทยาของปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ

ผลิตภัณฑ์ของเรา

คัดเลือกหาล์มน้ำมันหลายสายพันธุ์ดีที่สุดจาดทั่วโลกเพื่อเกษตรกรของเรา
ดูรายละเอียด
Indrajitu Slot Indrajitu Slot Gacor indrajitu sateslot ayambet slot gacor hari ini acong88 ayambet sate slot indrajitu megaforwin nasgorbet Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Sateslot https://103.123.158.92/vvip/ Ayambet Indrajitu Megaforwin Sateslot Bimatoto Plnslot Buditogel Nasgorbet Acong88 Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Plnslot Sateslot Ayambet Indrajitu Megaforwin Nasgorbet Sateslot gacor slot terpercaya sibela Indrajitu Indrajitu