1. เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 30 เซนติเมตร
2. ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรมหรือตายได้
3. ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงเกษตรกรควรจัดการให้ต้นตั้งตรงเช่นเดิมโดยใช้ไม้ค้ำยัน
4. หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย เกษตรกรควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง ใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟส 0-3-0 ครึ่งกิโลกรัมแล้วปลูกซ่อมทันที
5. หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม
6. เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21 7. ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า เกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่นหรือส่วนอื่นๆได้ 8. ภายหลังจากน้ำท่วมมักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไฟโซล-อลูมินั่ม (อาลีเอท) ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20ลิตร เกษตรกรควรถอดยอดปาล์มน้ำมันหรือส่วนที่เน่าออกก่อนแล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม
ศัตรูปาล์มน้ำมันมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลเสียต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะสามารถป้องกัน หรือกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง อาร์ดี เกษตรพัฒนา จึงนำข้อมูลควรรู้เรื่องนี้มาให้ศึกษากันครับ
ด้วงกุหลาบ
cr.photo: invasive.org
เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก สีน้ำตาล ตัวเต็มวัยจะเข้ากัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมันในอายุแรกปลูก-1ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกใหม่ ถ้ารุนแรงทางใบจะถูกทำลายจนหมดเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ระบาดในช่วงแล้งก.พ.-เม.ย.)
ลักษณะการทำลาย : กัดเจาะใบ
วิธีป้องกัน : เซฟวิน 85% (Sevin85) 10 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร (ฉีดช่วงเย็น) หรือพอสซ์20%(Posse 20%)
-ฉีดช่วงเย็น ทุก7-10วัน ทั้งใบและโคน
หรือ มาแชล5G (Marshal5G) หยอดกาบใบล่าง1 ช้อนโต๊ะ
ด้วงแรด
มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ
ลักษณะการทำลาย : เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด
วิธีป้องกัน : คาร์โบซัลแฟน หรือคลอไพริฟอส ปริมาณการผสมตามที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ ราดบริเวณรอบยอดอ่อน
cr.wikipedia
ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง
จัดว่าเป็นด้วงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลออกดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มม. ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร
ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 ม. และอาจซ้ำกินบริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวทำลาย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง
หนอนหัวดำมะพร้าว
หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1-1.2 เซนติเมตร ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบ ตัวหนอนที่ฟักใหม่ๆ จะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น
ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายสีน้ำตาลเข้มพาดยาวตามลำตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 ซม. การเจริญเติบโตของหนอนหัวดำมะพร้าวพบว่าลอกคราบ 6-10 ครั้ง ระยะหนอน 32-48 วัน ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง
หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น ตัวหนอนจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่
ผีเสื้อที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบปาล์ม จึงมักจะพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบปาล์มใบเดียวกัน
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบแก่ ทำให้ใบแห้งและมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้
วิธีป้องกัน : พ่นด้วย BT 40-80 กรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน
cr.photo: nbair.res.in
เพลี้ยหอย
เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย
ลักษณะการทำลาย : ดูดน้ำเลี้ยงจากผล
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย เซฟวิน 85% (Sevin85) ฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ หรือใช้ไซเปอร์เมทริน
Cr. Photo: thoughtco.com
Cr. Photo: invasive.org
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกับเพลี้ยหอย
วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยไทอะมีโทแซม (Thiamethoxam) ร่วมกับไวท์ออยล์ (White Oil)
Cr. Photo: agrinfobank.com
Cr. Photo: entnemdept.ufl.edu
หนอนปลอก
เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร หรือ ฉีดพ่นด้วยเชื้อบีทีชนิดผง 20-30 กรัม /น้ำ 15 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ2ครั้ง/สัปดาห์ *กรณีระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยเชฟวิน 85 % อัตราส่วน 25-40กรัม/น้ำ20ลิตร พ่น1-2 ครั้ง
หนอนหน้าแมว
เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะใบ
วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
Cr. Photo: pestnet.org
แมลงดำหนามมะพร้าว
พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง
ลักษณะการทำลาย : กัดแทะยอดอ่อน
วิธีป้องกัน : ฉีดพ่นเชื้อราขาว ปล่อยแมลงหางหนีบ หรือมัมมี่แตนเบียน
Cr.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร
มวนพิฆาตหรือตัวห้ำ
Cr:ฝ่ายส่งเสริมเกษตร บริษัท ไบโอ-อะกริ จำกัด
มวนพิฆาตเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติพวกแมลงห้ำ มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายศัตรูพืชได้หลายชนิด
โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อต่างๆ ตลอดชีวิตของมวนพิฆาต สามารถทำลายหนอนศัตรูพืชได้ประมาณ 214-258 ตัว
เฉลี่ย 6 ตัว/วัน มวนพิฆาตมีปากคล้ายเข็ม เมื่อพบเหยือจะจู่โจมเหยื่อแทงเข้าไปในตัวหนอน
แล้วปล่อยสารพิษ ทำให้ศัตรูเป็นอัมพาต จากนั้นจึงจะดูดกินของเหลว จนศัตรูแห้งตาย
ลักษณะการทำลาย : มวนพิฆาตไม่สร้างความเสียหายให้กับต้นปาล์มน้ำมัน แต่ยังส่งผลดีในการช่วยกำจัดหนอนหน้าแมว
วิธีป้องกัน : -
หนู
ลักษณะการทำลาย :
หนูจะทำความเสียหายปาล์มน้ำมัน 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (อายุ เริ่มปลูก-4 ปี) สภาพพื้นที่ในสวนปาล์มมักนิยมปลูกพืชคลุมดิน หรือไม่ก็มีวัชพืชขึ้นรกรุงรังแทนที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการเป็นที่หลบอาศัยของหนูชนิดต่างๆ โดยหนูจะเข้ามากัดทำลายโคนต้นอ่อน ยอดต้นอ่อนและทางใบปาล์มส่วนที่อยุ่ติดกับพื้นดิน หากร่องรอยการทำลายมีมาก โดยเฉพาะที่โคนต้นอ่อนจะทำให้ต้นปาล์มแห้งตายในที่สุด
ระยะที่ 2 (อายุ 5-25 ปี) หนูจะเป็นปัญหามากที่สุด โดยจะกินทั้งผลปาล์มดิบและสุกเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ช่อดอกเกสรตัวผู้ของปาล์มยังเป็นแหล่งอาศัยของตัวอ่อนของด้วงผสมเกสรในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นอาหารของหนูอีกชนิดหนึ่งด้วย ด้วยเหตุนี้เราอาจใช้ร่องรอยการทำลายของหนูบนช่อดอกเกสรตัวผู้ที่บานและแห้งแล้ว เป็นตัวชี้ว่าสวนปาล์มนั้นมีจำนวนประชากรหนูอยู่มากหรือน้อยโดยคร่าวๆได้
ชนิดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน
1. หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง พบมากในสวนปาล์มน้ำมันที่อายุไม่เกิน 4 ปี โดยเฉพาะที่มีป่าหญ้าคาและหญ้าขนขึ้นในพื้นที่ หนูชนิดนี้มีขนาดใหญ่ มีแผงขนบริเวณหลังและท้องสีเทาเข้ม นิสัยดุร้าย ไม่ชอบปีนป่ายต้นไม้ แต่จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
2. หนูฟันขาวใหญ่ พบในสวนปาล์มน้ำมันที่อยู่ริมคูน้ำระหว่างเนินเขาและติดชายป่า หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงกับหนูพุกใหญ่ หนูฟันขาวใหญ่จะไม่มีแผงขนที่หลัง ขนที่ท้องสีครีม และนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย นิยมทำลายต้นปาล์มอ่อน จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น
3. หนูฟานเหลือง พบในสภาพป่าทุกประเภท และพบเพียงเล็กน้อยในสวนปาล์มที่มีอายุ 5 ปี บมากใน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล หนูฟานเหลืองเป็นหนูขนาดกลาง หน้าขาวด้านหลังสีเหลืองส้มปนขนสีดำประปราย ท้องสีขาวครีมล้วนๆ หางมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาวปลายหางยาว อุปนิสัยเชื่องช้า ไม่ดุร้าย อาหารคือ รากไม้ ผลไม้ แมลง หอย พ
4. หนูนาใหญ่ เป็นศัตรูที่สำคัญในสวนปาล์มที่อายุระหว่าง 4-7 ปี พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ชอบอาศัยในดงหญ้ารก ใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ชอบขุดรูบนพื้นดินที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม รังหนูอยู่ลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 0.5 เมตร หนูจะอพยพหนีน้ำไปหาแหล่งอาศัยที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น มันจะทำรังในดงหญ้าโดยหักใบหญ้ามาสุมทำรังเหนือระดับน้ำ
5. หนูท้องขาว เป็นชนิดพบมากที่สุดในสวนปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเมื่อปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ (อายุ 6 ปีขึ้นไป) เช่นที่ จังหวัดสตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานีและชุมพร หนูชนิดนี้มีหลายชนิดและความแตกต่างกันมาก สามารถจำแนกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้
เมื่อใดควรปราบหนู
สามารถนำข้อมูลมาประเมินได้ 4 วิธี ดังนี้
วิธีป้องกันกำจัดหนู
1. การล้อมตี วิธีนี้ต้องใช้จำนวนคนค่อนข้างมาก โดยการยกทางใบที่กองอยู่ระหว่างต้นปาล์มออก เนื่องจากใต้กองทางใบปาล์มเป็นแหล่งที่อยู่และขยายพันธุ์ของหนู หรือจะใช้รถไถที่สามารถตีทางใบปาล์มแห้งให้ละเอียด แล้วให้คนคอยดักตีหนูที่วิ่งออกมา หรือใช้ไม้ไผ่ยาวๆ แทงตามซอกทางใบและซอกทะลายปาล์มบนต้น เพื่อไล่หนูที่หลบซ่อนอยู่ให้ตกลงพื้นดินแล้วใช้คนไล่ตี วิธีการนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้ผลดีก็ต้องกระทำบ่อยๆ ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลามาก และไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรหนูได้ในระยะยาว
2. การดัก การดักโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักที่สามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนมากจะใช้ได้ผลดีในเนื้อที่จำกัด และไม่กว้างขวางนักหรือเป็นวิธีเสริมหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดหนูแล้ว เช่น ในแปลงเพาะปลูกขนาดเล็กที่ปริมาณของหนูศัตรูปาล์มไม่มาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เหยื่อดัก การเลือกเหยื่อชนิดใดควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดนั้นมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ราคาเหยื่อต้องไม่แพงจนเกินไป
ตำแหน่งที่วางกรงหรือกับดักหนู คือตามร่องรอยทางเดินหากินของมันบนพื้นดิน ข้างกองทางใบ หรือโคนต้นจะสะดวกและปลอดภัยกว่าการวางบนต้นที่ทะลาย เพราะบ่อยครั้งที่พบงูเห่าขึ้นไปนอนคอยกินหนูบนยอดปาล์ม
3. การเขตกรรม เช่น การหมั่นถางหญ้าบริเวณรอบโคนต้นปาล์มโดยห่างโคนต้นประมาณ 1-1.5 เมตร อย่าให้มีหญ้าขึ้นรก หรือทำลายทางใบปาล์มที่กองไว้ หนูก็จะไม่มีที่หลบซ่อน ทำให้ง่ายต่อการกำจัดโดยวิธีอื่นๆ
4. การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูทางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก นกฮูก สัตว์เหล่านี้ช่วยกำจัดหนูโดยกินเป็นอาหาร จำเป็นต้องสงวนปริมาณไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ เพื่อคอยควบคุมประชากรหนูไว้ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะถ้าทำลายสัตว์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้หมดไป จะเป็นเหตุให้หนูขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่ปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก
พื้นที่สวนปาล์มใดถ้ามีศัตรูธรรมชาติ เช่น นกแสก นกฮูก เหยี่ยว หรือนกเค้าแมวมาก ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์เร็ว เพราะจะเป็นอันตรายต่อนกเหล่านี้ที่กินหนูตัวที่ได้กินเหยื่อพิษชนิดนี้มาก โดยปกติเกษตรกรที่จะกำจัดหนูโดยใช้ศัตรูธรรมชาติและสารกำจัดหนูเข้าช่วย สารกำจัดหนูที่ใช้ควรเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ช้าจะปลอดภัยต่อนกศัตรูธรรมชาติของหนูมากกว่า
เป็นวิธีการที่ลดจำนวนประชากรของหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถลดปริมาณได้ในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังทำได้ในบริเวณกว้าง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย
สารกำจัดหนูที่ได้ทำการทดสอบในสวนปาล์มน้ำมันแล้วและได้ผลดีมาก เป็นสารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดสำเร็จรูปที่หนูกินครั้งเดียวตาย
แต่หนูจะตายหลังกินเหยื่อพิษไปแล้ว 2-10 วัน และมักจะตายในรูหรือรังหนู จึงมักไม่พบซากหนูตาย สารกำจัดหนูุนี้ จะเป็นชนิดชนิดก้อนขี้ผึ้งก้อนละประมาณ 5 กรัม ได้แก่ โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) และโบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%)
ขั้นตอนการวางเหยื่อพิษมีดังนี้
1. นำเหยื่อพิษวางในจุดต่างๆ ได้แก่ โบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%) โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) ชนิดใดชนิดหนึ่ง วางที่โคนต้นปาล์มต้นละ 1 ก้อน ในขณะที่วางเหยื่อพิษ ควรจะวางให้ชิดกับโคนต้นและตรงข้ามกับทางน้ำไหลของน้ำฝน เนื่องจากภาคใต้มีปริมาณฝนมาก อาจจะพัดพาเหยื่อพิษไปได้
3. ทุก 7-10 วัน ตรวจนับจำนวนเหยื่อพิษที่ถูกหนูกินไป และเติมเหยื่อทดแทนก้อนที่ถูกกินไป ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าเปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อจะลดลงต่ำลง จากการทดลองพบว่า เมื่อวางเหยื่อพิษแล้ว 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 10 วัน เปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อพิษจะลดลงต่ำกว่า 20% จึงหยุดวางเหยื่อพิษ
4. ภายหลังการวางเหยื่อครั้งสุดท้ายผ่านไปแล้ว 6 เดือน ควรตรวจนับเปอร์เซ็นต์ร่องรอยการทำลายใหม่อีก หากพบว่าเกิน 5% ก็ควรเริ่มการกำจัดหนูวิธีการเช่นเดิมอีก
สรุป
การป้องกันกำจัดหนูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในประเทศไทยมีจำนวนหลายแสนไร่ ได้ความเสียหายที่เกิดจากหนู นับเป็นมูลค่าะนับพันล้านบาทต่อปี ดังนั้นถ้ามีการป้องกัน กำจัด จะให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลงทุน
ข้อมูลจาก http://www.thaikasetsart.com
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากบรรดาศัตรูของต้นกล้ากันนะคะ ซึ่งก็คือ การหุ้มตาข่าย ป้องกันหนู ??
วิธีการป้องกันกำจัดหนู ในสวนปาล์ม
1. ใช้กรงดักหนู ในบริเวณที่เห็นร่องรอยการอาศัยอยู่ของหนู วิธีนี้เกษตรกรต้องซื้อกรงดักหนูเป็นจำนวนมาก
เพื่อดักหนูและลดประชากรของหนู วิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการกัดกินของหนูได้
เพราะหนูขายพันธุ์ได้เร็ว ใน 1 ปีหนู 1 คู่สามารถขายพันธุ์ได้มากกว่า 1,000 ตัว
2. ตระแกรงป้องกันหนู วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่มีลูกค้าหลายรายยังใช้ไม่ถูกต้องจึงไม่สามารถกันได้ 100%
เนื่องจากวิธีการใช้เอาไปใช้พันรอบต้นปาล์มแล้ว ไม่ปิดปากและฝังตระแกรงลงไปในดินด้วยบางส่วน
จึงทำให้หนูมุดเข้าไปกัดกินได้ต้องไม่ลืมบีบปากตระแกรง และฝังตระแกรงลงไปในดินส่วนหนึ่งด้วย
การใช้ตระแกรงต้องทำไปพร้อมกับการปลูกครั้งแรกเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชยืนต้นที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น กล่าวคือ มีฝนตกชุก มีแสงแดดมาก ไม่มีสภาพอากาศหนาว ซึ่งสภาวะอากาศดังกล่าว ได้แก่ บริเวณเส้นศูนย์สูตร พบว่าปาล์มน้ำมันมีการกระจายอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16 องศาเหนือ ถึง เส้นรุ้งที่ 15 องศาใต้ โดย 90% ของประเทศที่มีการปลูกปาล์มน้ำมันจะอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 10 องศาเหนือและใต้
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน มี 4 ปัจจัย คือ
ปริมาณน้ำฝนและการกระจายตัวของฝน :
ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน เนื่องจากน้ำมีความสำคัญในการเคลื่อนย้ายของธาตุอาหาร โดยปกติปาล์มน้ำมันที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีการคายน้ำ 5-6 มม./วัน หากมีการขาดน้ำจะทำให้ผลผลิตอีก 19-22 เดือนข้างหน้าลดลง ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน ควรจะอยู่ระหว่าง 2,000-3,000 มม./ปี และมีการกระจายของฝนดีในแต่ละเดือน โดยจะต้องมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม./เดือน การกระจายของน้ำฝนจะมีความสำคัญมากโดยเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นดินร่วนปนทราย ซึ่งดินดังกล่าวจะมีการเก็บความชื้นได้น้อยจึงทำให้มีโอกาสขาดน้ำได้ง่าย ดังนั้นการใช้วัชพืชคลุมดิน ก็จะเป็นอีกวิธีที่จะช่วยรักษาความชื้นไว้ในดินได้
พื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,200 มม./ปี ปริมาณน้ำฝนจะไม่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์ม ปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ดังกล่าวจะให้ผลผลิตลดลง ในการรักษาระดับของผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนน้อย อาจทำได้โดยการติดตั้งระบบน้ำซึ่งจะช่วยรักษาระดับการให้ผลผลิตของปาล์มในช่วงฤดูแล้งได้ แต่อย่างไรก็ตามในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกมากเกินไป (มากกว่า 3,000 มม./ปี) ก็ไม่เหมาะกับปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน เนื่องจากปาล์มน้ำมันจะได้รับแสงแดดน้อยลง มีการท่วมขังของน้ำในที่ลุ่ม นอกจากนั้นจะมีการระบาดของโรคได้ง่ายกว่าปกติ จากการศึกษาการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำฝน/ปี แตกต่างกัน พบว่าปริมาณฝนที่มากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันลดลง
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ควรมีเดือนที่ขาดน้ำ (เดือนที่ขาดน้ำ ได้แก่ เดือนที่มีน้ำฝนน้อยกว่า 100 มม./เดือน) หากมีการขาดน้ำมากกว่า 4 เดือน (มีช่วงฤดูแล้งที่ยาวนาน) พื้นที่ดังกล่าวจะไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมัน แต่สามารถแก้ไขได้โดยมีการตั้งระบบน้ำให้กับปาล์มน้ำมัน หากมีสภาพการขาดน้ำในรอบปีมาก จะทำให้จำนวนทะลาย น้ำหนักทะลาย และเปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง
ปริมาณแสงแดด :
ปริมาณแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญรองจากปริมาณน้ำฝน โดยปกติปาล์มน้ำมันจะต้องได้รับแสงแดดมากกว่า 5 ชั่วโมง/วัน (ได้รับพลังงานแสงไม่น้อยกว่า 17 MJ/ตารางเมตร/วัน) เนื่องจากแสงแดดเป็นปัจจัยสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืชทุกชนิด หากปาล์มน้ำมันได้รับปริมาณแสงน้อยจะทำให้การเจริญเติบโตลดลง การสร้างดอกตัวเมียน้อยลงซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง นอกจากนั้นยังทำให้สัดส่วนของผลต่อทะลายลดลงซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณน้ำมันลดลงอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยปริมาณของแสงเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมัน ปัจจัยของแสงจะมีปัญหากับปาล์มน้ำมันเมื่อปลูกปาล์มไปแล้วมากกว่า 10 ปี เนื่องจากปาล์มที่ปลูกในระยะที่ชิดจะมีการบังแสงของทางใบระหว่างต้นทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างต้น ดังนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการอย่างถูกต้องเหมาะสมเกี่ยวกับระยะปลูกและการตัดแต่งทางใบ เพื่อให้ปาล์มมีจำนวนใบและมีพื้นที่ใบที่จะรับแสงได้เหมาะสมตลอดอายุของการเจริญเติบโตของปาล์ม พบว่าช่วงแรกของการเจริญเติบโต การตัดแต่งทางใบไม่ค่อยมีความจำเป็นมากนัก แต่เมื่อปาล์มน้ำมันโตมากขึ้นจะต้องมีการตัดแต่งทางใบมากขึ้น เพื่อทำให้มีพื้นที่ใบรับแสงแดดได้อย่างเพียงพอ ในสภาพที่ปาล์มน้ำมันถูกบังแสง จะทำให้สร้างอาหารได้น้อยลง และทำให้มีการสร้างดอกตัวเมียน้อยลง มีการศึกษาพบว่าช่วงเดือนที่มีกลางวันสั้น จะมีผลทำให้สัดส่วนเพศของปาล์มน้ำมันลดลง
อุณหภูมิ :
อุณหภูมิ มีผลต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันเช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของปาล์มน้ำมันควรอยู่ช่วง 22-32 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิปกติของเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะมีผลกระทบกับปาล์มน้ำมันน้อยกว่าอุณหภูมิที่ต่ำ ในสภาพอุณหภูมิที่สูงจะมีผลกับการคายน้ำของปาล์มน้ำมันซึ่งจะทำให้ปาล์มน้ำมันขาดน้ำ แต่ในสภาพอุณหภูมิต่ำปาล์มน้ำมันจะมีพัฒนาของใบช้าลง มีการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของกล้าปาล์มน้ำมันจะจำกัดอย่างมากเมื่ออุณหภูมิต่ำว่า 15 องศาเซลเซียส แต่เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 20 องศาเซลเซียส กล้าปาล์มจะเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 7 เท่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 25 องศาเซลเซียส
ความสูงจากระดับน้ำทะเล :
มีผลกับอุณหภูมิเช่นเดียวกัน (อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 0.6 องศาเซลเซียส เมื่อความสูงเพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร) มีรายงานว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในบริเวณพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากกว่า 500 เมตร จะให้ผลผลิตช้ากว่าปาล์มน้ำมันที่ปลูกในพื้นที่ต่ำถึง 1 ปี
ลม :
ลำต้นของปาล์มน้ำมันไม่แข็งแรง (ซึ่งแตกต่างกับมะพร้าว) จึงไม่เหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง หรือ แนวพายุ ความเร็วลมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 0-10 เมตร/วินาที และการที่มีลมพัดช้าๆ จะช่วยลดอุณหภูมิในช่วงเที่ยงวันได้ด้วย รากของปาล์มน้ำมันเป็นรากฝอย ทำให้ไม่ทนทานต่อกระแสลมที่พัดแรง ประกอบกับปาล์มน้ำมันมีทรงพุ่มใหญ่ทำให้ล้มได้ง่าย โดยเฉพาะการปลูกในพื้นที่พรุ นอกจากนั้นในพื้นที่ซึ่งมีลมแรงจะทำให้ใบปาล์มน้ำมันฉีกขาดหรือทางใบหัก เป็นผลให้อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในสภาพพื้นที่ซึ่งมีลมพัดโชยอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงที่มีแดดจัดจะช่วยเสริมให้ปาล์มน้ำมันมีการหายใจได้ดีขึ้น และเป็นการช่วยระบายความร้อนแก่ใบปาล์มด้วย
ลักษณะทั่วไปของปาล์มน้ำมัน ปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในพืชตระกูลปาล์ม ตระกูลย่อยเดียวกับมะพร้าว เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ผสมข้าม (ใช้เกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสมกับเกสรตัวเมียของต้นตัวเอง) ปาล์มน้ำมันเป็นพืชสมบูรณ์เพศ คือ มีทั้งช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียบนต้นเดียวกัน (แยกช่อดอกอยู่ในต้นเดียวกัน) การผสมเปิดจะได้ต้นปาล์มน้ำมันรุ่นลูกที่แตกต่างจากต้นแม่เดิม จึงไม่แนะนำให้เก็บเมล็ดจากใต้ต้นไปขยายพันธุ์ ถ้าปลูกปาล์มน้ำมันจากเมล็ดที่หล่นใต้ต้นหรือนำมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะทำให้ผลผลิตทะลายสดลดลง
ต้นปาล์มน้ำมันจะไม่มีปาล์มต้นตัวเมียหรือต้นตัวผู้ ต้นตัวผู้ที่เกษตรกรเข้าใจ คือ ต้นที่ผิดปกติซึ่งจะออกดอกตัวผู้มากกว่าปกติ (แต่ยังมีดอกตัวเมีย) ดังนั้นจึงเป็นต้นตัวผู้ไม่ได้
การผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสม
cr. photo:Figure 11.3. The Shell gene is responsible for the oil palm’s three known shell forms: dura (thick); pisifera (shell-less); and tenera (thin), a hybrid of dura and pisifera palms [56]. Tenera palms contain one mutant and one normal version, or allele, of Shell, an optimum combination that results in 30% more oil per land area than dura palms [57].
ดูรา (DURA) :
กะลาหนา 2-8 มม. ไม่มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกบาง ประมาณ 35-60 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล มียีนส์ควบคุมเป็นลักษณะเด่น ปาล์มชนิดนี้ใช้เป็นแม่พันธุ์
ฟิสิเฟอร่า (PISIFERA) :
ยีนส์ควบคุมลักษณะผลแบบนี้เป็นลักษณะด้อย ลักษณะผลไม่มีกะลาหรือมีกะลาบาง ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ทำให้ผลฝ่อลีบ ทะลายเล็กเนื่องจากผลไม่พัฒนา ผลผลิตทะลายต่ำมาก ไม่ใช้ปลูกเป็นการค้าแต่ใช้เป็นพ่อพันธุ์ในการผลิตลูกผสม เนื่องจากมีจำนวนดอกตัวเมียมาก
เทเนอร่า (TENERA) :
มีกะลาบาง ตั้งแต่ 0.5-4 มม. มีวงเส้นประสีดำอยู่รอบกะลา มีชั้นเปลือกนอกมาก 60-90 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักผล ลักษณะเทเนอร่าเป็นพันธุ์ทาง เกิดจากการผสมข้ามระหว่างต้นแม่ดูราและต้นต่อฟิสิเฟอร่า