การจัดการสวนปาล์มน้ำมัน

อาการขาดธาตุอาหารในปาล์มน้ำมัน

3 กรกฎาคม 2561

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการปุ๋ยในปริมาณที่มาก เนื่องจากมีการเก็บเกี่ยวผลผลิต (ทะลาย) ออกไป ซึ่งเป็นการนำธาตุอาหารในต้นปาล์มออกไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งปาล์มน้ำมันยังเป็นพืชที่มีการสะสมอาหารในปริมาณที่สูงไว้ในต้นด้วย การจัดการปุ๋ยที่ถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นการเพิ่มปริมาณผลผลิตให้มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้มีกำไรสูงสุด 

      
          เกษตรกรจะพบว่าค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการจัดการสวนปาล์ม (มากกว่า 50 % ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด) จะใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยมากที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องธาตุอาหารพร้อมทั้งหน้าที่ของธาตุอาหารแต่ละอย่าง และเรียนรู้ถึงความต้องการอาหารของต้นปาล์มน้ำมันอย่างแท้จริง คำตอบในเรื่องนี้คือ การใส่ปุ๋ยควรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน ไม่มากหรือน้อยเกินไป การใส่ปุ๋ยมากเกินไป นอกจากจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง ผลผลิตไม่เพิ่มขึ้น ยังมีผลเสียต่อต้นปาล์มได้อีกด้วย

 

ธาตุอาหารหลักที่ปาล์มน้ำมันต้องการ

          ปาล์มน้ำมันต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นทั้ง 16 ธาตุเหมือนกับพืชชนิดอื่น แต่ธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการใช้ในปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และโบรอน

การประเมินความต้องการปุ๋ย

พิจารณาจากผลการวิเคราะห์ใบ หรือจากลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของต้นปาล์มน้ำมัน

1. ไนโตรเจน (N) 

หน้าที่ เพิ่มพื้นที่ใบ สีใบ อัตราการเกิดใบใหม่ และการดูดซึมธาตุอาหาร มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต สร้างโปรตีน สร้างคลอโรฟิลส์ ถ้ามีมากเกินไป ผลผลิตลดลง อ่อนแอต่อโรคและแมลง

อาการขาดธาตไนโตรเจน ใบเหลือง ผลผลิตลด มักพบในต้นปาล์มน้ำมันที่ถูกน้ำท่วมขัง หรือปลูกในดินทรายตื้นๆ หรือมีหญ้าคาขึ้นปกคลุมบริเวณราก

คำแนะนำ : ควรแบ่งใส่หลายครั้ง สูตร 46-0-0 =  0.5-3 กก./ต้น/ปี  หรือใส่ 21-0-0 = 1-4 กก./ต้น/ปี  

 

2. ฟอสฟอรัส (P) 

หน้าที่ ควบคุมการเจริญเติบโต การสังเคราะห์แสง การหายใจ การแบ่งเซลส์ คุณภาพการสุกของผลและการสร้างดอก

อาการขาดธาตุฟอสฟอรัส ปาล์มน้ำมันชะงักการเจริญเติบโต ทางใบสั้นลง ลำต้นและทะลายเล็กลง สังเกตการขาดธาตุฟอสฟอรัสได้จากต้นหญ้าคาที่ขึ้นในบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน มีใบล่างสีม่วง

คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย 18-46-0 = 1.5-2 กก./ต้น/ปี หรือ 0-3-0 = 2.5-3 กก./ต้น/ปี 

 

3. โพแทสเซียม (K)

หน้าที่ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการการสังเคราะห์แสง การสร้างโปรตีน การหายใจ กระบวนการสร้างแป้งและน้ำตาล ตลอดการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลในพืช ช่วยให้น้ำในพืชมีความสมดุล และควบคุมการเปิดปิดของปากใบในเซลล์พืช การคายน้ำ การแบ่งเซลส์ และช่วยให้ปาล์มน้ำมันทนทานต้อความแห้งแล้ง ทำให้ทะลายใหญ่ และจำนวนมากขึ้น 

อาการขาดธาตุโพแทสเซียม แสดงอาการได้หลายอย่าง

 

คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย 0-0-60  =  4 กก.ต้น.ปี

 

 

4. แมกนีเซียม (MG)

หน้าที่ เกี่ยวข้องกับระบบเอนไซม์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลส์ ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหารให้กับปาล์ม

อาการขาดธาตุแมกนีเซียม ใบย่อยของทางใบล่างมีสีเขียวซีด ในระยะต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มและแห้งในที่สุด

วิธีการใส่ แบ่งการใส่ปุ๋ยออกเป็นหลายๆ ครั้ง ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียมก่อนการใส้โพแทสเซียมอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อหลีกเลี่ยงการขัดขวางการดูดธาตุอาหารซึ่งกันและกัน ในส่วนของไดโลไมท์ ใช้เพื่อปรับปรุงดินที่มีความเป็นกรด (pH ต่ำ) และให้ธาตุแมกนีเซียมกับปาล์มน้ำมัน แต่ควรใช้ไดโลไมท์เมื่อมีการวิเคราะห์ดินเท่านั้น การหว่านปูนไดโลไมท์ควรหว่านในระหว่างแถวของปาล์มน้ำมัน และไม่ควรใส่ปุ๋ยยูเรียทันทีหลังจากหว่านไดโลไมท์ เพราะจะทำให้เกิดการสูญเสียไนโตรเจนเร็วขึ้น

คำแนะนำ : ใส่ปุ๋ย คีเซอร์ไรด์ ( 27 % Mgo,23%S) =  1.5-2 กก./ต้น/ปี

 

5. โบรอน (B)

หน้าที่ เกี่ยวข้องกับระบบเอนไซม์ การสร้างผนังเซลล์ การสร้างโปรตีน และการสร้างเมล็ด ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื้ออ่อน ทำให้ท่อน้ำละอองเกสรแข็งแรงและช่วยในการเจริญเติบโตของละอองเกสร ในปาล์มน้ำมันจะทำให้การติดผลดีขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำหนักทะลายเพิ่มมากขึ้น

อาการขาดธาตุโบรอน ใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น ใบรูปตะขอ ใบย่น ใบที่ยอดสั้น

คำแนะนำ : ใส่โบรอน 30-100 กรัม/ต้น/ปี

 

6. เหล็ก

 

7. ทองแดง

 

8. กำมะถัน

บทความล่าสุด
June 15, 2020
ศัตรูปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ
August 08, 2019
เทคนิคการป้องกันต้นกล้าปาล์มจากหนู
อ่านต่อ
July 06, 2018
นิเวศวิทยาของปาล์มน้ำมัน
อ่านต่อ

ผลิตภัณฑ์ของเรา

คัดเลือกหาล์มน้ำมันหลายสายพันธุ์ดีที่สุดจาดทั่วโลกเพื่อเกษตรกรของเรา
ดูรายละเอียด